http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม1,001,467
เปิดเพจ1,220,589

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส

By Sidney Chu, MSc, SROT, OTR

บทนำ

ระบบผิวสัมผัส คือ การรับรู้สัมผัสของร่างกายผ่านตัวรับความรู้สึก (sensory receptors) ที่แตกต่างกันในผิวหนัง โดยระบบสัมผัสนั้นเป็นระบบแรกที่เราได้รับหลังเกิดมาจากท้องแม่ การทำงานของระบบการรับความรู้สึกที่ดีจะช่วยให้เรารู้สึกปลอดภัย อบอุ่นกับคนที่เรารัก และเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคม

ระบบผิวสัมผัสนั้นมีบทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งในการมีหน้าที่ป้องกัน และบอกให้เรารู้ว่าเมื่อไหร่ที่มีสิ่งที่อันตรายและไม่ปลอดภัยเข้ามาใกล้ตัวเรา แต่สำหรับเด็กบางคน การทำหน้าที่นี้ของระบบผิวสัมผัสอาจไม่ปรกติ เด็กเหล่านี้อาจมีการรับความรู้สึกทางผิวสัมผัสที่มากเกินไป จนรู้สึกอึดอัด หรือกลัว และแสดงปฏิกิริยาต่อสู้หรือถอยหนี (Fight or Flight response) ซึ่งเราเรียกกรณีนี้ว่า ภาวะหลีกหนีการสัมผัส (Tactile Defensive) ซึ่งถูกระบุครั้งแรกไว้ในปี 1960 โดย Dr .A.J. Ayres นักกิจกรรมบำบัดจากอเมริกา

อะไรคือภาวะหลีกหนีการสัมผัส

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส (TD) เป็นรูปแบบของพฤติกรรมและการตอบสนองทางด้านอารมณ์ ในทางลบ ไม่ชอบหรือรังเกียจ ต่อสิ่งเร้าทางการสัมผัสที่คนอื่นโดยทั่วๆ ไปไม่ได้รู้สึกว่าเป็นอันตราย (Royeen & Lane, 1991)

ภาวะหลีกหนีการสัมผัสนี้เป็นชนิดหนึ่งของความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึก  (Sensory Integrative Dysfunction) คือการที่สมองไม่สามารถประมวลผลข้อมูลความรู้สึกที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เด็กที่ระบบการรับสัมผัสประมวลผลข้อมูลโดยขาดความแม่นยำนี้มักทำให้เด็กตกอยู่ในสถานการณ์ red alert โดยเด็กอาจแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาขณะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ธรรมดาทั่วไป เช่น ติดผู้ปกครองแจ (Fright) ต่อสู้ขัดขืน (Fight) หรือหลบเลี่ยงถอยหนี (Flight) (Trott,1993)

ทั้งนี้กระบวนการที่ระบบประสาทประมวลผลผิดพลาดทำให้เด็กมีภาวะหลีกหนีการสัมผัสนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเรียนรู้หรือความสามารถทางสติปัญญาของเด็ก แต่ความอึดอัด และพฤติกรรมของเด็กอาจกระทบกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งเด็กส่วนใหญ่มักตกอยู่ในภาวะขาดความมั่นคงทางด้านจิตใจ (Larson, 1982)

แม้ว่าภาวะหลีกหนีการสัมผัสจะไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยคนส่วนใหญ่มักรู้จักในชื่อ ภาวะความไวที่มากเกินไป (Hypersensitivity) หรือภาวการณ์ตอบสนองที่มากเกินไป (Hyper-responsivity) ต่อการสัมผัส (Baranek and Berkson, 1994) ตัวอย่าง เช่น ภาวะหลีกหนีการสัมผัสถูกอ้างถึงในเด็กที่มีความยากลำบากในการเรียนรู้แบบเฉพาะเจาะจง (specific learning difficulty) (Ayres, 1964,1972) เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Kinnealey,1976) เด็กออทิสติกสเปกตรัม (Ritvo, Ornitz and LaFranchi, 1968: Ayres and Tickle, 1980 and Grandi, 1984) และเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการอื่นๆ (Larson, 1982)

เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแยกแยะระหว่างเด็กที่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัส กับเด็กที่มีปัญหาในการวางแผนการเคลื่อนไหว (developmental dyspraxia) แม้ว่าทั้งสองภาวะนี้มักพบร่วมกันก็ตาม โดยในบางครั้งพบว่าผู้เชี่ยวชาญหลายคนสับสนกับสองภาวะนี้ ซึ่งแนวทางในการรักษาทั้งสองภาวะนั้นมีความแตกต่างกัน

พฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงภาวะภาวะหลีกหนีการสัมผัส

เด็กที่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัสมักมักจะอยู่ไม่นิ่งและหันเหความสนใจง่าย เด็กมักตอบสนองมากเกินไปต่อสิ่งกระตุ้นทางการสัมผัสโดยที่คนอื่นไม่รู้สึกอะไร โดยเด็กมักมีปัญหากับสิ่งกระตุ้นทางการสัมผัสชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ โดยเด็กอาจแสดงพฤติกรรมแสวงหาการเคลื่อนไหวหรือการสัมผัสเชิงลึกเพื่อลดระดับความไวของประสาทสัมผัสของตนเอง

พฤติกรรมตอบสนองแบบหลีกหนีต่อสิ่งกระตุ้นทางผิวสัมผัส

  • เด็กอาจมีการหลีกเลี่ยงผิวสัมผัสของเนื้อผ้าบางชนิด (เช่นผ้าเนื้อหยาบ หรือสาก) หรือชอบเนื้อผ้าชนิดใดชนิดหนึ่งมากเป็นพิเศษ (เช่น ผ้าที่มีลักษณะนุ่มลื่น)
  • เด็กอาจหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเด็กคนอื่น เช่น ชอบยืนแยกตัวอยู่คนเดียว หรือชอบยืนอยู่ท้ายสุดของแถวไม่ยอมให้ใครอยู่ข้างหลัง
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องมีการสัมผัส เช่น กิจกรรมที่ต้องมีการสัมผัสบริเวณใบหน้า
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องสัมผัสสิ่งแปลกใหม่ เช่น เม็ดทราย หรือการทำ finger paint เป็นต้น และชอบเล่นกิจกรรมที่ต้องแยกทำอยู่คนเดียว
  • หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าบนพื้นทราย หรือพื้นหญ้า โดยเด็กอาจแสดงพฤติกรรมเดินแขย่งปลายเท้า
  • ไม่ชอบสถานการณ์ที่มีคนเยอะ มักมุดไปอยู่ใต้โต๊ะ หรือแอบซ่อนอยู่หลังบันได

 

พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งสัมผัสที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย

  • ไม่ชอบการอุ้มหรือถูกกอดรัด
  • ขัดขืนในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การอาบน้ำ ตัดเล็บ ตัดผม หรือล้างหน้า
  • ไม่ชอบให้ทำความสะอาดช่องปากหรือการแปรงฟัน
  • ขัดขืนเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อม เปลี่ยนเสื้อผ้า หรือเวลาที่ต้องทำความสะอาดบริเวณหน้า หรือจมูก
  • ไม่ชอบให้ใครเข้ามาสัมผัสจากด้านหลัง อาจมีการเช็ดหรือถูบริเวณที่ถูกสัมผัส

การตอบสนองทางอารมณ์ต่อสิ่งเร้าทางการสัมผัส

  • แสดงอาการวิตกกังวลเวลาที่ต้องอยู่ใกล้คนอื่น หรือที่ที่มีคนอยู่เยอะ
  • ปฏิเสธการเข้าร่วมงานสังคม เช่น งานวันเกิด หรือการไปห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
  • หงุดหงิด หรือโกรธเวลาที่ถูกสัมผัสเบาๆ บริเวณแขน ใบหน้า หรือขา เด็กอาจตอบสนองโดยการสะบัดตัวออกไปทันที
  • ไม่ชอบการถูกสัมผัส ชอบสัมผัสคนอื่นมากกว่า เด็กบางคนอาจชอบให้กอดแบบแน่นๆ เพื่อลดความรู้สึกสัมผัสที่ไวเกินไป

พึงสังเกตว่าเด็กที่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัส อาจพบภาวะตอบสนองมากเกินไปต่อสิ่งกระตุ้นด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ด้านการเคลื่อนไหว การมองเห็น หรือการได้ยิน ซึ่งถ้าพบว่าเด็กมีการตอบสนองมากเกินไปต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าหนึ่ง เราเรียกว่าเด็กมีภาวะ Sensory Defensive

ทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายภาวะหลีกหนีการสัมผัส

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านที่พยายามอธิบายภาวะบกพร่องในการประมวลผลประสาทความรู้สึกนี้ ซึ่งโดยรวมได้เน้นจุดสำคัญไปที่ กลไกในการยับยั้ง (Inhibition) ของสมองในแต่ละระดับ ยกตัวอย่างเช่น

  • Ayres (1964) ได้เสนอทฤษฎีสองระบบ ว่าภาวะหลีกหนีการสัมผัสเป็นผลมาจากความไม่สมดุลกันของการทำงานระหว่างสองระบบของร่างกาย คือกลไกการป้องกัน (protective system) และระบบการแยกแยะสิ่งต่างๆ (discriminative system) ซึ่งภาวะหลีกหนีการสัมผัสเกิดขึ้นเมื่อ ระบบกลไกการป้องกันนั้นขาดตัวควบคุม ทำให้ไปรบกวนการทำงานของระบบการแยกแยะสิ่งต่างๆ
  • Larson (1982) แนะว่าเป็นเพราะความไม่สมบูรณ์ของการสั่งงานจากสมองขั้นสูง (high part of the brain) ที่อาจจะทำให้เกิดการยับยั้ง (inhibition) ที่มาก หรือน้อยเกินไป
  • Fisher and Dunn (1983) มีสมมติฐานว่า ความรู้สึกสัมผัสอาจมีการจัดการบริเวณไขสันหลัง โดยที่สมองขั้นสูงนั้นเป็นตัวควบคุมอีกที ในเด็กที่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัสนั้น การปรับแต่งนี้อาจมีความบกพร่องทำให้เด็กมีการตอบสนองที่มากเกินไปต่อสิ่งกระตุ้นสัมผัส
  • Royeen and Lane (1991) ได้เสนอแนวคิดความต่อเนื่องของการลงทะเบียนความรู้สึก (registration) และการปรับระดับความรู้สึก (modulation) โดยภาวะหลีกหนีการสัมผัส (TD) นั้นเป็นส่วนหนึ่งของภาวะหลีกหนีสิ่งกระตุ้น (sensory defensive) ซึ่งพิจารณาได้ว่าเกิดจากความบกพร่องของสมองส่วน (Limbic system)
  • Baranek & Berson (1994) ให้การสนับสนุนว่าภาวะหลีกหนีการสัมผัสเป็นสิ่งที่เกิดจากภาวะการตอบสนองของสมอง ซึ่งแยกจากหลักพฤติกรรมอย่างสิ้นเชิง

กลยุทธ์ในการช่วยเด็กที่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัส

จุดมุ่งหมายของนักบำบัดคือการลดภาวะหลีกหนีการสัมผัส ให้เด็กสามารถปรับตัวต่อสิ่งกระตุ้นที่หลากหลายได้ โดยการปรับปรุงการทำงานของระบบประสาทในการรับและประมวลผลข้อมูลการสัมผัส เทคนิคเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเด็กที่มีภาวะหลีกหลีการสัมผัส (Mailloux, 1992).

  • ใช้แรงกดที่มั่นคงเมื่อมีการสัมผัสกับเด็ก ไม่ควรสัมผัสแบบแผ่วเบา การลูบหัว ลูบหลังหรือแตะไหล่เบาๆ จะไม่ทำให้เด็กชอบ
  • การให้แรงกดตรงๆ ไปที่บริเวณศรีษะและไหล่ทั้งสองข้าง จะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายขึ้น การกอดแบบแน่นๆ (heavy bear hug) จะทำให้เด็กรู้สึกดี แต่ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่าเด็กรู้ตัวว่าเรากำลังจะทำอะไรกับเขา ไม่ควรจู่โจมแบบไม่รู้ตัว
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือการเข้าหาเด็กจากทางด้านหลัง ควรมั่นใจว่าเด็กเห็นเราก่อนที่เราจะเข้าไปหา หรือเข้าไปพูดด้วย
  • เมื่อมีการจับต้องตัวเด็ก การสอนหรือจับมือเด็กทำอะไร ควรใช้การสัมผัสแบบมั่นคงเท่าที่ทำได้ แต่ไม่ใช้การจับจนเด็กรู้สึกเจ็บ
  • อนุญาตให้เด็กเลือกตำแหน่งในแถวของตนเอง อาจอยู่หน้าหรือหลังสุด เพื่อเป็นการลดสิ่งกระตุ้นการสัมผัส
  • ถ้าเป็นไปได้อย่าให้เด็กยืนรออยู่ในแถวนานเกินไป
  • อนุญาตให้เด็กที่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัสใส่เสื้อคลุมขณะอยู่ในห้อง หรือที่ร่วม ถ้าจะทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและมั่นคงปลอดภัย
  • อนุญาตให้เด็กมีระยะห่างของตนเอง ไม่เข้าไปนั่งชิดเกินไป
  • อาจทำการตีกรอบ หรือลากเส้นบนพื้นบ่งบอกขอบเขตความเป็นส่วนตัว หรืออนุญาตให้เด็กเลือกตำแหน่งที่นั่งของตนเองขณะนั่งในกลุ่ม
  • ส่งเสริมให้เด็กใช้ฟองน้ำแบบธรรมชาติถูตัวเองขณะอาบน้ำ
  • ออกแบบมุมสงบให้เด็กสามารถเข้าไปพักได้ เวลารู้สึกอึดอัด หรือวุ่นวายใจ
  • ใส่ใจกับรายละเอียดเรื่องชนิดของเนื้อผ้า ลักษณะพื้นผิวของเล่น หรือสถานการณ์ต่างๆ (เช่น การเดินผ่านคนเยอะ) ที่ทำให้เด็กมีการตอบสนองอารมณ์ทางด้านลบ ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เด็กรู้สึกอึดอัด ระคายเคือง (เช่น อนุญาตให้เด็กใส่ชุดที่ทำจากผ้าฝ้าย ถ้าเด็กชอบ) จนกว่าภาวะหลีกหนีการสัมผัสของเด็กจะดีขึ้น
  •  กิจกรรมการออกแรง (Heavy work) เช่น การช่วยถือตะกร้า การสะพายกระเป๋าด้วยตนเอง การช่วยทำงานบ้าน หรือทำกิจกรรมที่ต้องมีการกระโดด ดึงและดัน จะช่วยให้ระบบสัมผัสลดความตื่นตัวลงและทำให้ระบบสัมผัสจัดระเบียบข้อมูลได้ดีขึ้น
  • พยายามให้เด็กมีประสบการกับผิวสัมผัสที่หลากหลายระหว่างเวลาเล่น อาบน้ำ หรือทานอาหาร โดยพยายามให้เด็กสนใจ และรู้สึกสนุก และเป็นการดีกว่าที่ให้เด็กเป็นคนเริ่มต้นที่จะสนใจเอง มากกว่าการที่เราเป็นคนพยายามบังคับให้เด็กสนใจ

แนะนำให้สอบถามนักกิจกรรมบำบัดในการจัดกิจกรรมกระตุ้นการสัมผัสแบบเฉพาะเจาะจง รวมถึงวิเคราะห์ถึงการตอบสนองต่อสิ่งสัมผัสต่างๆ ของเด็กร่วมกัน และคอยสังเกตพฤติกรรมเด็กหลังจากเด็กทำกิจกรรม

สิ่งที่ควรทำต่อไป ?

ถ้าคุณคิดว่าลูกอาจมีภาวะหลีกหนีการสัมผัส ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการประเมินและบอกแนวทางการแก้ไข พยายามพบนักกิจกรรมบำบัดผู้มีประสบการณ์หรือผ่านการอบรมด้านทฤษฎีการบูรณาการประสาทความรู้สึก (sensory integration) Sidney Chu (1999)

Reference : แปลและเรียบเรียงจากบทความของ www.dyspraxiafoundation.org.uk                                                                    โดย ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก Mind Brain & Body เมษายน 2554

ความคิดเห็น

  1. 1
    DFI
    DFI FEE@GAME.COM 29/08/2016 13:51

     His friend started the engine and began to taxi onto the runway of the airport.Rolex Kopior Herr Mr. Johnson had heard that the most dangerous part of a flightrolex replica were the take-off and the landing, replica orologi svizzeriso he was extremely frightened and closed his eyes.

  2. 2
    ดาวิกา
    ดาวิกา 17/05/2011 13:44
    อ่านแล้วพฤติกรรมคล้ายๆ หลานชายเลยค่ะ ควรพาไปพบคุณหมอก่อนหรือว่าพาไปประเมินกับผู้เชี่ยวชาญดีค่ะ

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view