http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม963,736
เปิดเพจ1,175,629

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

Tips for Kids with Sensory Processing Issues avoid travel meltdowns

 

การพาเด็กที่มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางระบบประสาทความรู้สึก (sensory processing issues) ออกไปท่องเที่ยวช่วงเทศกาลนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางความรู้สึกต่างๆ มากเกินไป (Sensory Over-responsive) หรือเด็กเซนซิทิฟ ไม่ว่าจะเป็นด้านการสัมผัสผิวกาย (Tactile sense) ไม่ชอบให้ใครมาเข้าใกล้ สัมผัส ระคายเคืองมีปัญหากับเนื้อผ้าบางชนิด หรือด้านการรับรส/กลิ่น (Gustatory/Olfactory sense) ที่มีปัญหาการกินอาหาร และกลิ่นต่างๆ หรือด้านการได้ยิน (Auditory sense) ที่วิตกกังวลกับเสียงต่างๆ รอบตัว เด็กกลุ่มนี้มักหงุดหงิดง่าย งอแง วุ่นวาย ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ หรือแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ ออกมา ดังนั้นผู้ปกครองควรมีการเตรียมการรองรับให้ดี เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่มีแต่ความสุข โดยทางเรามีคำแนะนำดังนี้

1.  เตรียมสิ่งต่างๆ ที่ช่วยทำให้เด็กควบคุมตัวเองได้ไปด้วย

ถ้าลูกของเรามีลักษณะพฤติกรรมอยู่ในกลุ่มที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นประสาทความรู้สึกที่มากเกินไป (Sensory sensitivity) ไม่ว่าจะเป็นไวต่อแสง เสียง ผิวสัมผัสต่างๆ หรือกลิ่น ก็จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อลดการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป เช่น แว่นกันแดด ที่ปิดหู หรือของเล่นชิ้นเล็กที่เด็กถือแล้วสบายใจไปด้วย และส่วนใหญ่การให้เด็กกลุ่มนี้ได้ออกแรง (heavy work) เช่นการช่วยถือของที่มีน้ำหนัก หรือสะพายกระเป๋า จะช่วยทำให้เด็กควบคุมตนเองได้ดีขึ้น

2.  เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัวที่เด็กคุ้นเคยไปด้วย

โรงแรมส่วนใหญ่จะมีบริการสบู่ แชมพู ยาสีฟัน ผ้าขนหนูเตรียมไว้ให้ แต่ถ้านำไปใช้กับเด็กกลุ่มที่ตอบสนองไวต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้มากเกินไป อาจทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดและแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ได้ ดังนั้นผู้ปกครองควรเตรียมของใช้ส่วนตัวของเด็กไปด้วยจะช่วยทำให้เด็กสบายใจรู้สึกเหมือนอยู่บ้านของตนเอง

3.  ซักซ้อมจำลองสถานการณ์ก่อนออกเดินทางจริง

สำหรับเด็กโต ควรเตรียมเด็กโดยการพูดถึงสิ่งต่างๆ ที่เด็กต้องพบเจอล่วงหน้า เช่น เราจะไปเมืองใหญ่ อาจมีเสียงดัง มีคนพลุกพล่าน หรือกลิ่นต่างๆ ที่เราอาจไม่คุ้นเคย บอกเด็กว่าควรต้องทำอย่างไร จะช่วยให้เด็กเตรียมใจรับสถานการล่วงหน้าได้ดีขึ้น

สำหรับเด็กเล็ก อาจเตรียมเด็กโดยการเล่นบทบาทสมมติเกี่ยวกับสถานที่ที่กำลังจะไป เช่น สมมติว่าบ้านเราเป็นสนามบิน หรือพิพิธภัณฑ์ และแต่งเรื่องราวว่าเราจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง เสียงดังของเครื่องบิน เสียงล้อลากกระเป๋า ผู้คนเดินเบียดเสียดไปมา อาจให้เด็กดูวีดีโอเกี่ยวกับสนามบิน หรือเครื่องบิน เป็นต้น

4.  ในการเดินทางไกลด้วยรถยนต์ควรหยุดพักระหว่างทางบ่อยๆ

การนั่งในรถที่แคบและอึดอัดเป็นเวลานานเป็นสิ่งที่ยากลำบากสำหรับเด็กที่มีปัญหาการประมวลผลระบบความรู้สึก (Sensory Processing issues) การหยุดพัก 10 นาที ทุกๆ หนึ่งชั่วโมงจะช่วยทำให้เด็กรู้สึกดีขึ้นได้

ถ้าลูกของเราต้องการเวลาสงบเพื่อผ่อนคลาย (Quiet time)  อาจวางแผนการเดินทางให้มีจุดพักนานๆ ระหว่างทาง หากเป็นเด็กกลุ่มที่แสวงหาข้อมูลความรู้สึกที่มากเกินไป อยู่นิ่งๆ นานไม่ได้ อาจเตรียมบอลให้เด็กเตะเล่น หรือช่วยถือตะกร้าระหว่างแวะซื้อของ จะช่วยทำให้เด็กรักษาความตื่นตัวของระบบประสาทได้ดีขึ้น

5.  เผื่อเวลาสำหรับการเดินทางให้มาก

การเดินทางที่เร่งรีบเพื่อให้ไปถึงจุดมุ่งหมายปลายทางให้ทันเวลา สามารถทำให้เด็กเกิดความเครียด (overload by the stress) จากการที่ต้องพบเจอสถานที่ไม่คุ้ยเคย อาจกระตุ้นทำให้เด็กเกิดภาวะวิตกกังวล และแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ออกมาได้ (meltdown) ถ้าหากเรารู้สึกว่าการเดินทางของเราเริ่มเกิดภาวะความเครียด ควรหยุดตัวเราเองและตั้งสติ จะทำให้ลูกของเราสงบขึ้นได้อีกทาง

6.  มองหามุมสงบระหว่างรอขึ้นเครื่อง

เวลารอเครื่องขึ้น หรือระหว่างเปลี่ยนย้ายเครื่องที่ต้องรอเวลานาน ควรมองหามุมที่สงบสำหรับเด็ก เพื่อลดความวุ่นวายจากผู้คน เสียงประกาศต่างๆ จะช่วยลดการกระตุ้นที่มากเกินไปได้

7.  วางแผนการบอร์ดดิ่งขึ้นเครื่อง

สายการบินบางสายอาจมีบริการพิเศษสำหรับครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น อนุญาตให้ขึ้นเครื่องก่อน หรือหลังจากที่ทุกคนขึ้นเครื่องหมดแล้ว ซึ่งเราควรติดต่อกับทางสนามบินก่อน จะช่วยลดความวุ่นวายให้เด็กของเราได้

8.  เตรียมชุดของเด็กไปด้วย

หากต้องเดินทางไปสถานที่ที่มีสภาพอากาศ หรืออุณหภูมิที่แตกต่างออกไปจากที่บ้าน ควรเตรียมชุดที่คุ้นเคยของเด็กไปด้วย หรือถ้าเป็นไปได้ให้เด็กเป็นคนเลือกเอง จะช่วยเด็กที่มีปัญหาในการตอบสนองต่อระบบความรู้สึกจัดการกับความเครียดได้ดีขึ้น

9.  เตรียมอาหารที่เด็กคุ้นเคยไปด้วย

สำหรับเด็กที่มีความไวต่อชนิดผิวสัมผัสของอาหาร หรือรสชาติอาหารต่างๆ หรือในเด็กกลุ่มที่มีปัญหาพฤติกรรมเวลาหิว ควรจัดเตรียมอาหารที่เด็กคุ้นเคยไปด้วย จะช่วยลดปัญหาพฤติกรรมของเด็กกลุ่มนี้ได้ดี

10.  พยายามจัดกิจวัตรประจำวัน กฎระเบียบวินัยให้เหมือนกับตอนอยู่บ้านให้มากที่สุด

การพักร้อน ท่องเที่ยวทำให้กิจวัตรประจำวันของเด็กเปลี่ยนแปลง จะทำให้เด็กกลุ่มที่มีปัญหาการตอบสนองที่มากเกินไปของระบบความรู้สึก แสดงปัญหาอารมณ์ พฤติกรรม ยึดติด หงุดหงิด งอแง ไม่เชื่อฟังออกมาได้ ดังนั้นควรพยายามจัดตารางกิจวัตร เช่น เวลาเข้านอน เวลาตื่น หรือกฎระเบียบวินัยต่างๆ ให้เหมือนกับอยู่บ้านมากที่สุด จะช่วยทำให้เด็กควบคุมจัดการกับอารมณ์ พฤติกรรมของตนเองได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ช่วยลดกระตุ้นระบบประสาทความรู้สึก ทำให้เด็กควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมตนเองได้ดีขึ้น

** การใช้ที่ปิดหู Ear phone, Ear muffs หรือ Ear plugs จะช่วยเด็กที่ตอบสนองต่อเสียงที่มากเกินไปได้

ทำให้เด็กสงบ ลดพฤติกรรมวุ่นวาย


 ** การให้เด็กใส่เสื้อกักน้ำหนัก Weighted Vest

จะช่วยเด็กได้รับแรงกดเชิงลึก Deep pressure ทำให้เด็กรู้สึกสงบ

** สำหรับเด็กที่มีการตอบสนองต่อแสงมากกเกินไป อาจลดการกระตุ้นโดยให้เด็กใส่แว่นดำ Sunglasses ระหว่างเดินทาง จะทำให้เด็กหันเหความสนใจตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นน้อยลง ลดอาการ Sensory Overload

** สำหรับเด็กที่ตอบสนองต่อการสัมผัสมากเกินไป Tactile Over-responsive ลดการกระตุ้นโดยให้เด็กใส่เสื้อแขนยาวที่รัดตัวพอดี จะช่วยทำให้เด็กรู้สึกมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น



** ของเล่น fidget toys ให้เด็กถือไว้จะช่วยทำให้เด็ก Regulate ควบคุมตนเองได้ดีขึ้น       



เรียบเรียงจากบทความของ Amanda Morin, www.understood.org. โดย Mind Brian & Body ธันวาคม 2558


     

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view