http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม963,826
เปิดเพจ1,175,735

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

Sensory Processing Problem in Gifted child

เด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ หรือเด็ก Gifted Child หมายความว่า ผู้ที่มีความสามารถโดดเด่น มีการใช้ทักษะความสามารถได้ดี มีสติปัญญาสูง มีความฉลาดในการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการเป็นผู้นำ1 โดยเด็ก Gifted อาจแสดงลักษณะดังต่อไปนี้

ลักษณะของเด็ก Gifted Children2

ด้านสติปัญญา (Cognitive Traits)

  • ช่างสังเกต (Very Observant)
  • มีความอยากรู้ อยากเห็นแบบสุดโต่ง (Extremely Curious)
  • แสดงความสนใจต่อบางสิ่งอย่างมาก (Intensive interests)
  • มีความจำเป็นเลิศ (Excellent memory)
  • คงช่วงความสนใจกับบางสิ่งได้นาน (Long attention span)
  • ทักษะการใช้เหตุผลดีเลิศ (Excellent reasoning skills)
  • พัฒนาการความคิดเชิงนามธรรม (abstraction) การสังเคราะห์ (synthesis) และการคิดรวบยอดเร็ว (conceptualization)
  • เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของแนวคิด (ideas) วัตถุประสงค์ (objects) และหลักความจริง (facts) ได้เร็ว
  • ปรับเปลี่ยนความคิดได้เร็ว (Fluent and flexible thinking)
  • มีความคิดที่ซับซ้อน
  • ทักษะการแก้ไขปัญหาเป็นเลิศ
  • เรียนรู้จากการฝึกฝนได้เร็ว
  • มีจินตนาการสูง

ด้านสังคมและอารมณ์ (Social and Emotional Traits)

  • มีความสนใจเกี่ยวกับปรัชญาสังคม (Interested in philosophical and social issues)
  • อารมณ์อ่อนไหว ตอบสนองไว (very sensitive and emotionally)
  • รักความยุติธรรม (fairness and injustice)
  • เจ้าระเบียบ (Perfectionistic)
  • มีอารมณ์ขบขัน (Well-Developed Sense of Humor)
  • มีแรงจูงใจภายในสูง (intrinsically motivated)
  • มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง ครูหรือผู้ใหญ่

ด้านภาษา (Language Traits)

  • ใช้คำศัพท์ได้ดี (Extensive vocabulary)
  • อาจจะอ่านหนังสือเป็นเร็วกว่าวัย
  • อ่านได้เร็ว
  • มักถามในลักษณะที่ว่า “ถ้า....แล้ว....” (Asks “what if” questions)

ลักษณะอื่นๆ ที่อาจพบ (Additional Traits)

  • ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่
  • ชอบกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด
  • เล่นโดยใช้ความคิด (Displays intellectual playfulness)
  • ชอบหนังสือของเด็กที่โตกว่าวัย

ความไม่สอดคล้องกันในพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปัญญาเลิศ (Asynchronous development of Gifted children)3

ในเด็กทั่วไปพัฒนาการทางด้านความคิด (Intellectual) ด้านร่างกาย (physical) และด้านอารมณ์ (emotional) มักมีการพัฒนาในระดับที่เท่าๆ กัน เมื่อเทียบกับอายุเด็ก แต่ในเด็ก Gifted นั้นพัฒนาการแต่ละด้านที่กล่าวมาอาจเร็ว หรือช้า แตกต่างกันไป เช่น เด็ก Gifted อายุ 3 ขวบอาจมีพัฒนาการดังนี้

- พัฒนาการทางด้านความคิดและสติปัญญา (Intellectual ability) เท่ากับเด็กอายุ 6 ขวบ

- พัฒนาการทางด้านร่างกาย (Physical ability) เท่ากับเด็กอายุ 3 ขวบ

- พัฒนาการทางด้านอารมณ์ (Emotional maturity) เท่ากับเด็กอายุ 2 ขวบ

หรือ

- พัฒนาการทางด้านความคิดและสติปัญญา (Intellectual ability) เท่ากับเด็กอายุ 7 ขวบ

- พัฒนาการทางด้านร่างกาย (Physical ability) เท่ากับเด็กอายุ 3 ขวบ

- พัฒนาการทางด้านอารมณ์ (Emotional maturity) เท่ากับเด็กอายุ 4 ขวบ

หรือ

- พัฒนาการทางด้านความคิดและสติปัญญา (Intellectual ability) เท่ากับเด็กอายุ 6 ขวบ

- พัฒนาการทางด้านร่างกาย (Physical ability) เท่ากับเด็กอายุ 2 ขวบ

- พัฒนาการทางด้านอารมณ์ (Emotional maturity) เท่ากับเด็กอายุ 3 ขวบ

ปัญหาที่อาจพบในเด็ก Gifted child4

  • อาจมีความยากลำบากในการทำงานง่ายๆ เช่น การเขียนพื้นฐาน การสะกด หรือเลขคณิตอย่างง่าย แต่กลับทำสิ่งที่ซับซ้อนบางอย่างได้ เช่น เข้าใจหลักการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน สนทนาโดยใช้ภาษาที่ซับซ้อนได้ หรือมีทักษะทางคอมพิวเตอร์ที่สูง
  • มีความยากลำบากในการเขียน (written expression) การใช้ดินสอ สับสนเกี่ยวกับตัวเลข หรือตัวหนังสือ
  • ด้านการพูด และความสามารถต่างๆ ไม่ไปในทิศทางเดียวกัน
  • มีปัญหาการเรียนบางด้าน (poor performance in one or more academic areas)
  • ขาดทักษะการจัดการ (organization skill)
  • ขาดทักษะทางสังคม (poor social skill)
  • ดื้อ ไม่เชื่อฟัง
  • อารมณ์อ่อนไหวต่อคำติเตียน
  • หงุดหงิดง่าย
  • ก่อกวนห้องเรียน
  • มีความอยากที่จะประสบความสำเร็จมาก และกลัวความผิดพลาด ล้มเหลว5
  • จดจ่อ และหมกมุ่นเฉพาะสิ่งที่ตนเองสนใจ5

ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และสังคมที่มักพบในเด็ก Gifted นั้นอาจเกิดขึ้นจากความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึก (Sensory Processing/Integration Disorder) โดยจากการวิจัยของ Douglas R. Gere1 พบว่าเด็ก Gifted มีระบบประสาทที่ไวต่อสิ่งแวดล้อม และการตอบสนองทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ไวกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งอาจเกิดจากการตอบสนองที่มากเกินไปของระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Over-Responsive) ทำให้เกิดภาวะระบบประสาทถูกกระตุ้นมากจนเกินไป5 (sensory overload) ส่งผลให้มีปัญหาทางอารมณ์ และพฤติกรรม เช่น หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห หลีกหนี แยกตัว เป็นต้น

การศึกษาปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึก (SPD) ในเด็ก Gifted พบว่า6

  • กรณีศึกษานำร่อง (pilot study) โดยมูลนิธิ SPD Foundation พบว่าเด็ก 35% จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 คน จากศูนย์อัจฉริยภาพเด็กและเยาวชน มีอาการพร่องในการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (SPD) อย่างมีนัยสำคัญ
    • การศึกษาอื่นๆ พบว่า เกือบร้อยละ 17 ของเด็กปัญญาเลิศ (gifted children) จากศูนย์ต่างๆ มีปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย (coexisting disorder) ซึ่งรวมถึงภาวะบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึก (SPD)
    • ความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึก (SPD) ในเด็กปัญญาเลิศ (gifted) อาจเป็นปัจจัยทางด้านลบต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ความรู้ความเข้าใจ อารมณ์  สังคม และพัฒนาการการเคลื่อนไหว (motor development)
    • หากปัญหาต่างๆ ที่พบร่วมด้วยไม่ได้รับการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นความบกพร่องทางการเรียนรู้บางด้าน (LD) หรือปัญหาในการบูรณาการประสารทความรู้สึก (SPD) จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านสังคม อารมณ์อย่างถาวรจนถึงวัยผู้ใหญ่
    • เด็กปัญญาเลิศ (gifted) ส่วนใหญ่มีปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึก (SPD) ในส่วนของการปรับระดับข้อมูลความรู้สึก (Sensory Modulation Disorder) แต่บางคนอาจมีปัญหาบูรณาการประสาทความรู้สึกในส่วนของการรับความรู้สึกเคลื่อนไหว (Sensory-Base Motor Disorder) ในด้านการวางแผนการเคลื่อนไหว (Dyspraxia)
    • ความสูงของระดับสติปัญญาในเด็กปัญญาเลิศ (level of giftedness) มีความสัมพันธ์กับระดับการตอบสนองที่มากเกินไปต่อความรู้สึกเจ็บปวด เสียง การสัมผัส และการรับกลิ่น

 

                เปรียบเหมือนดาบสองคมสำหรับเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted) ที่มีความฉลาด และระดับสติปัญญาสูงโดดเด่นกว่าเด็กทั่วไป ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่การตระหนักและตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่มากเกินไปนั้นทำให้หนึ่งในสามของเด็กกลุ่มนี้มีปัญหาการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของตนเอง (Regulation) ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสังคมและการปรับตัวของเด็ก หากพบว่าเด็กมีลักษณะเข้าข่ายเด็กปัญญาเลิศ (Gifted) แต่มีการตอบสนองที่มากเกินไปของระบบประสาทรับความรู้สึก (Sensory Over-responsive) จนกระทบต่อพัฒนาการความสามารถตามวัยของเด็ก ควรแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือนักกิจกรรมบำบัดที่มีความรู้ในด้านการบูรณาการประสาทความรู้สึก (Sensory Processing/Integration)

 

เรียบเรียงโดย ครูต้น นักกิจกรรมบำบัด ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก Mind Brain & Body 23 กรกฎาคม 2558

Reference

  1. Douglas R. Gere,.. “Sensory sensitivities of gifted children” American Journal of Occupation Therapy (2009) สืบค้นได้จาก http://ajot.aota.org/article.aspx?articleid=1865840&resultClick=3 (มกราคม 2556)
  2. Carol Bainbridge., “Characteristics of gifted Children” สืบค้นจาก http://giftedkids.about.com/od/gifted101/a/giftedtraits.htm (กรกฎาคม 2558)
  3. Carol Bainbridge., “Asynchronous Development” สืบค้นจาก http://giftedkids.about.com/od/glossary/g/asynchronous.htm (กรกฎาคม 2558)
  4. Ministry of Education TE TAHUHU O TE MATAURANGA “Characteristics of Twice exceptional students” สืบค้นได้จาก   http://gifted.tki.org.nz/For-schools-and-teachers/Twice-exceptional-2E-students/Characteristics (กรกฎาคม 2558)
  5. Angie Voss, OTR, “The Gifted and Sensory Connection” สืบค้นจาก  http://asensorylife.com/the-gifted-and-sensory-connection.html (กรกฎาคม 2558)
  6. Paula Jarrard, MS OTR, “Sensory Issues in Gifted Children: Synthesis of the Literature”, edited by LJ Miller March, 2008 สืบค้นจาก http://www.spdfoundation.net/about-sensory-processing-disorder/gifted/ (กรกฎาคม 2558)

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view