http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม963,773
เปิดเพจ1,175,668

4 สัญญานเตือนว่าลูกดูจอมากเกินไป

Too Much Screen Time? - 4 Signs to Watch for in Your Child

4 สัญญาณที่ต้องระวังว่าลูกๆ ของคุณใช้เวลาหน้าจอมากเกินไปหรือไม่

 

เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ทุกวันนี้ใช้เวลาบนหน้าจอมากเกินไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มากมายรายล้อมอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา ผู้ปกครองไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี และต้องการอยากรู้ว่าจะจัดการกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างไรกับบุตรหลานของตน

เราในฐานะผู้ที่อยู่ร่วมในสังคมกำลังตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการดูหน้าจอที่มากเกินไป ซึ่งแน่นอนว่าเทคโนโลยีนั้นมีข้อดีอย่างมากมาย แต่ก็อาจจะมีข้อเสียตามมาอย่างแน่นอน

ผู้ปกครองหลายคนใน Silicon Valley ที่ทำงานด้านเทคโนโลยีได้เริ่มจำกัดการใช้หน้าจอของเด็ก ๆ ซึ่งพวกเขากังวลว่าการดูหน้าจออาจสร้างความเสียหายแก่เด็กได้

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีทั้งหมดนั้นใหม่เกินไปสำหรับพวกเราที่จะรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าเท่าไหร่ถึงจะเรียกได้ว่ามากเกินไป และยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยียังมีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุ และมีความเปลี่ยนแปลงจากรุ่นสู่รุ่น แต่ก็มีสัญญาณที่สำคัญบางอย่างที่บ่งบอกถึงการใช้งานบนหน้าจอที่มากเกินไป:

 

1. บุตรหลานของคุณถูกกระตุ้นมากเกินไปอยู่เป็นประจำ (Regularly Overstimulated)

การถูกกระตุ้นมากเกินไปเป็นสัญญาณแรกๆ ของการใช้เวลาบนหน้าจอมากเกินไปและยังเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยที่สุดและแพร่หลายมากที่สุด

สัญญาณของการถูกกระตุ้นมากเกินไปนั้นประกอบด้วย:

  • การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
  • ร้องไห้บ่อย (bouts of crying)
  • นั่งอยู่เฉยๆไม่ได้
  • ไม่แสดงอารมณ์หรือหน้าตาดูเหมือนมึนงง (Emotional shutdown or seeming to go numb)
  • อารมณ์หงุดหงิดง่าย
  • อาละวาด โวยวาย (meltdowns)
  • พฤติกรรมปฏิเสธ ต่อต้าน

แน่นอนว่าอาการของการถูกกระตุ้นมากเกินเหล่านี้อาจเกิดมาจากหลายสาเหตุ นอกจากนี้อาการบางอย่างยังอาจมีความทับซ้อนกับปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่นๆ ได้ เช่น เด็กที่มีความวิตกกังวลสูงอาจถูกกระตุ้นได้ง่าย ส่งผลให้พวกเขาอาจไม่สามารถทนดูหน้าจอนานมากเท่ากับเด็กคนอื่นได้ การดูหน้าจอมากเกินไปทำให้ความวิตกกังวลที่มีอยู่นั้นสูงขึ้น

 

2. สัญญาณทางกายภาพของการใช้เวลาบนหน้าจอมากเกินไป (Physical Signs of Too Much Screen Time)

นอกเหนือจากสัญญาณทางพฤติกรรมของการถูกกระตุ้นมากเกินไปแล้ว ยังมีสัญญาณทางกายภาพบางอย่างที่ผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นได้

สิ่งแรกคือ การสังเกตดวงตาของเด็กว่าม่านดวงตาขยายออก (Eyes dilated) หลังจากดูหน้าจอหรือไม่? มีปัญหาในการสบตา โดยเฉพาะหลังจากใช้อุปกรณ์หรือไม่? การมองเห็นของพวกเขาเป็นอย่างไร?

หลังจากที่ดูจอมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าทางสายตา (Eye strain) และสัมพันธ์กับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นอื่นๆ ได้

นอกจากนี้ให้สังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกๆ โดยเฉพาะอาการ “เหนื่อยแต่คึก” (Tired but wired) หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ “เหนื่อยแต่ไม่ยอมนอน” เหมือนกับอาการกินน้ำตาลหรือคาเฟอีนที่มากเกินไป ซึ่งอาการนอนไม่หลับเป็นอาการที่พบบ่อยมากเมื่อมีการใช้หน้าจอที่มากเกินไป

ท้ายที่สุดนี้ ให้พิจารณาอาการเจ็บป่วยทางกายภาพต่าง ๆ เช่น

- ลูกของคุณมีอาการปวดหัว หรือปวดกล้ามเนื้อหรือไม่?

- ลูกของคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารหรือไม่?

สิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจเกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งผู้ปกครองจะต้องคอยตัดประเด็นต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ซึ่งการอยู่หน้าจอก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ยังเป็นสาเหตุของอาการบาดเจ็บซ้ำซากจากการใช้งานซ้ำๆ (Repetitive stress injuries) เช่น โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel) แม้อยู่ในวัยเด็กก็ตาม

 

3. ลูกของคุณชอบจอมากกว่าคน (Your Child Likes Screens More Than People)

สังเกตลูกของคุณในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะกับเพื่อน เขาสนุกในการทำสิ่งต่างๆร่วมกับเพื่อนๆ หรือไม่? และในทางกลับกันเพื่อนของเขาส่วนใหญ่สื่อสารติดต่อกันโดยตรงหรือผ่านทางออนไลน์

หากลูกของคุณชื่นชอบในการใช้จอในการสื่อสารแบบเห็นหน้า (face-to-face) เขาอาจจะมีใช้เวลาในการอยู่บนหน้าจอที่มากเกินไป

พวกเขานั้นไม่ได้อยู่คนเดียว โซเชียลมีเดียและการส่งข้อความสื่อสารนั้นเป็นที่ได้รับความนิยม แต่การใช้เวลาในการพบปะกับผู้อื่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็ก เป็นวิธีที่พวกเขาเรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การเข้าอกเข้าใจ การได้ใช้ทักษะภาษากายในการสื่อสาร และมีการโต้ตอบกับผู้คนที่มีความหลากหลาย หากลูกของคุณมีปัญหากับสิ่งเหล่านี้ การจำกัดเวลาในการใช้หน้าจออาจช่วยได้

 

4. ลูกของคุณแสดงปฏิกิริยาในทางที่ไม่ดี เมื่อไม่ได้ดูจอ (Your Child Reacts Poorly to No Screen Time)

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ คุณบอกลูกของคุณว่าถึงเวลาปิดอุปกรณ์ได้แล้ว? แล้วถ้าหากสัญญาณ WiFi หายไป?

เด็กบางคนอาจบ่นเล็กน้อยแล้วก็หาสิ่งอื่นทำ แต่ถ้าหากลูกของคุณได้ใช้เวลาในการดูหน้าจอมากเกินไปแล้ว เขาอาจจะไม่สามารถจัดการกับสิ่งเหล่านี้ได้

หากลูกของคุณแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่รู้ว่าจะจัดการกับตัวเองอย่างไรดี หรือพูดไม่หยุดเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเขาแล้ว พวกเขาอาจจะต้องหยุดพักการใช้หน้าจอให้นานมากขึ้น

 

*** แปลและเรียบเรียงบทความจาก socalmentalwellness.comโดย Mind Brain & Body พฤษภาคม 2563

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view