http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม957,462
เปิดเพจ1,167,536

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

 

พฤติกรรมดังต่อไปนี้อาจมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึก (SID) หรือแสดงร่วมกับปัญหาพัฒนาการที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น

  1. ระดับความตื่นตัวในการทำกิจกรรมสูงมากเกินไป : เด็กแสดงพฤติกรรมอยู่นิ่งกับที่ลำบาก เดินไปมาบ่อยๆ ตื่นเต้นง่าย ทำกิจกรรมได้ไม่นาน
  2. ระดับความตื่นตัวในการทำกิจกรรมต่ำมากเกินไป : เด็กแสดงพฤติกรรมเคลื่อนไหวเชื่องช้า เหนื่อยง่าย ขาดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม ไม่ค่อยแสดงความสนใจสิ่งต่างๆ
  3. หุนหันพลันแล่น : เด็กอาจแสดงพฤติกรรมขาดการควบคุมตนเอง เช่น เทน้ำจนล้นแก้ว วิ่งชนสิ่งของบ่อย หรือพูดไม่หยุด
  4. หันเหความสนใจง่าย : เด็กอาจมีช่วงความสนใจสั้น แม้ในกิจกรรมที่ตนเองชอบ สนใจในทุกๆ สิ่งยกเว้นงานที่ตนเองกำลังทำอยู่ ทำอะไรไม่เป็นระเบียบแบบแผน ตกๆ หล่นๆ
  5. มีปัญหาระดับความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และสหสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวไม่ค่อยดี : กล้ามเนื้อของเด็กอาจแข็งเกร็ง หรือ อ่อนปวกเปียก เด็กอาจแสดงลักษณะเคลื่อนไหวแบบเก้ๆ กังๆ งุ่มง่าม เดินไม่ระมัดระวัง หกล้มบ่อย
  6. มีปัญหาการวางแผนการเคลื่อนไหว (motor planning) : การวางแผนการเคลื่อนไหวคือความสามารถในการลำดับ วางแผน  และจัดการการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนอย่างมีเป้าหมาย เด็กที่มีปัญหาการวางแผนการเคลื่อนไหวอาจ อาจมีความยุ่งยากในการทำกิจกรรม เช่น การเดินขึ้นลงบันได กิจกรรมฐานอุปสรรค การขี่จักรยาน การแต่งตัว การขึ้นลงรถ การใช้ช้อนส้อม การเขียนหนังสือ เป็นต้น เรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวใหม่ๆ ช้า เช่น การปรบมือหรือกระโดดตามจังหวะ เป็นต้น   
  7. ไม่แสดงมือข้างที่ถนัดแม้จะอายุ 4-5 ปี : เด็กอาจแสดงพฤติกรรมใช้สองมือสลับกันในการจับสิ่งของ เช่น ช้อนส้อม ดินสอ กรรไกร หรือใช้ทั้งสองมือทำกิจกรรม เช่น ใช้มือซ้ายจับช้อน แต่ใช้มือขวาในการเขียนหนังสือ
  8. สหสัมพันธ์การทำงานร่วมกันระหว่างตาและมือไม่ดี : เด็กอาจมีความยุ่งยากในการทำกิจกรรม เช่น การใช้ปากกา การทำงานศิลปะ การต่อจิ๊กซอว์ ทานอาหารไม่ให้หกเลอะเทอะ การใส่รองเท้า ตัวหนังสือเล็ก-ใหญ่ขนาดไม่สม่ำเสมอ
  9. ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง : เด็กอาจแสดงพฤติกรรมไม่ชอบออกจากบ้าน พบเจอคนที่ไม่คุ้ยเคย การทำกิจกรรมใหม่ๆ การทานอาหารที่ไม่คุ้ยเคย กลัวบางสิ่งอย่างไม่มีเหตุผล
  10.  มีความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลงสถานที่ หรือเปลี่ยนจากสถานการณ์หนึ่งไปสถานการณ์หนึ่ง : เด็กอาจแสดงพฤติกรรมไม่ให้ความร่วมมือเวลา เปลี่ยนจากสถานที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง หรือเปลี่ยนจากกิจกรรมหนึ่งไปอีกกิจกรรมหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงตารางเวลาประจำวันเพียงเล็กน้อยก็ทำให้หงุดหงิด
  11. หงุดหงิดง่าย : เด็กอาจแสดงพฤติกรรมหงุดหงิดง่ายเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน เลิกล้มความตั้งใจง่าย อาจเป็นคนเจ้าระเบียบเกินไป (Perfectionist) และคาดหวังในตัวเองสูงเกินไป แพ้ไม่เป็น ต้องการเป็นที่หนึ่งเวลาเล่นเกมแข่งขันร่วมกับเด็กคนอื่น
  12. มีในการปัญหาการปรับระดับความตื่นตัว (Self-regulation problem) : ไม่สามารถเพิ่มหรือลดความตื่นตัวของตัวเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้  การตอบสนองต่อสถานการณ์ไม่สม่ำเสมอ บางวันอาจทำได้ดี แต่บางวันกลับทำไม่ได้ หรือไม่อยากทำ
  13. มีปัญหาการเรียน : เด็กอาจมีความยากลำบากในการเรียนรู้ทักษะหรือหลักการใหม่ๆ หรือเป็นเด็กเรียนรู้อะไรได้ช้า
  14. ขาดทักษะสังคม : มีความยากลำบากในการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน ชอบควบคุมคนอื่น หรือไม่ค่อยแลกเปลี่ยนแบ่งปัน
  15. มีปัญหาอารมณ์ : ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เครียด วุ่นวาย ขาดความยืดหยุ่น เด็กอาจแสดงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจอย่างไม่เหมาะสม ไม่ค่อยมีความสุข มักมีคำพูดติดปากอยู่เสมอว่า “มันเป็นสิ่งที่งี่เง่า” “ปัญญาอ่อน” “ขี้แพ้” เด็กอาจมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ซึ่งเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าเด็กกำลังมีปัญหาในการจัดการประมวลผลความรู้สึก

 

ปัญหาอื่นๆ ที่อาจพบร่วมกับความยากลำบากในการประมวลผลความรู้สึก

 ปัญหาด้านภาษาและการฟัง

เด็กอาจมีความยากลำบากในการประมวลผลข้อมูลจากการได้ยิน ซึ่งมักพบได้กับเด็กที่มีปัญหาการประมวลผลการทรงตัว (Vestibular system) เพราะระบบการได้ยินและระบบการรักษาสมดุลนั้นทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เด็กอาจขาดทักษะในการฟัง การรับรู้เสียง เด็กอาจดูเหมือนไม่ค่อยเข้าใจคำสั่ง เนื่องจากมีความยากลำบากในการแปลผลข้อมูลที่ได้รับจากการฟัง

ปัญหาการออกเสียงสำเนียงที่ชัดเจน

เด็กอาจมีปัญหาในการพูดออกเสียงคำให้ชัดเจน อาจเกิดจากการที่เด็กไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อลิ้น ริมฝีปาก และปากให้ทำงานร่วมกันได้อย่างดี มักพูดผิดในคำที่มีเสียงใกล้เคียงกัน เช่น “tool” และ “school” “dose” และ “these” เนื่องจากยากลำบากในการควบคุมกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการออกเสียงร่วมกัน

ปัญหาการมองเห็น

เด็กอาจแสดงความยากลำบากในการใช้สองตาร่วมกัน โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาระบบการรักษาสมดุลทรงตัวร่วมด้วย ซึ่งทำให้มีความยากลำบากในการควบคุมกล้ามเนื้อตาให้เคลื่อนไหวร่วมกันอย่างราบรื่น และจะส่งผลต่อการเรียนรู้เพราะเด็กอาจมีความยากลำบากในการจ้องมองหนังสือ กระดาน สีหน้าผู้คน

แม้ว่าเด็กจะไม่ได้สายตาสั้น แต่การที่เด็กมีปัญหาการควบคุมกล้ามเนื้อตาทั้งสองทำงานร่วมกัน  เด็กก็จะมีความยากลำบากในการรับรู้ หรือแปลผลจากสิ่งที่มองเห็น  และถ้าเด็กไม่ได้รับการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกับระบบการได้ยิน การสัมผัส และการเคลื่อนไหว สมองก็จะแปลผลข้อมูลได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือในกรณีที่การเชื่อมโยงข้อมูลการมองเห็นร่วมกับการได้ยินมีปัญหา เด็กอาจยากลำบากในการมองค้นหาแหล่งกำเนิดเสียง หรือถ้ากรณีการเชื่อมโยงข้อมูลการมองเห็นร่วมกับการสัมผัสมีปัญหา เพียงแค่ใช้การมองอย่างเดียวเด็กก็อาจจะไม่รู้ว่าตะปูนั้นมีความแหลม และค้อนนั้นมีความหนัก  หรือในกรณีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างการมองเห็นและการเคลื่อนไหวมีปัญหา เด็กก็อาจจะไม่ค่อยระมัดระวังวัตถุสิ่งของรอบตัว ชนหกล้มเป็นประจำ รวมถึงเด็กอาจมีความยากลำบากในการใช้มือสัมพันธ์กับตา (eye-hand coordination) การรับรู้การมองเห็น การตระหนักถึงสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว ถ้าการประมวลผลความรู้สึกแต่ละด้านทำงานร่วมกันได้ไม่ดี เด็กก็จะเรียนรู้จากสิ่งที่มองเห็นได้ลำบาก

ปัญหาการรับประทานอาหาร

เด็กอาจแสดงลักษณะทานยาก เลือกทานอาหารเฉพาะบางชนิดซ้ำๆ หรือทานเฉพาะของกรอบๆ เช่น ขนมกรุบกรอบ หมูทอดกรอบ หรืออาจทานเฉพาะอาหารที่มีลักษณะเหลวๆ เช่น ซุป โยเกิร์ท หรือเลือกทานเฉพาะอาหารอุ่นหรือเย็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเป็นสาเหตุให้เด็กขาดสารอาหารและมีผลกระทบต่อพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก

ปัญหาระบบการย่อยและการขับถ่าย

เด็กที่มีปัญหาการประมวลผลประสาทความรู้สึกนั้นอาจแสดงของระบบย่อยอาหารและการขับถ่ายร่วมด้วย เนื่องจากเด็กอาจจะไม่รับรู้ว่าตนเองกำลังหิว เด็กบางคนอาจกินเยอะไม่รู้จักอิ่ม บางคนอาจมีปัญหาการควบคุมการขับถ่ายเนื่องจากเด็กไม่รับรู้ความต้องการ หรืออาจเพราะความตึงตัวของกล้ามเนื้อในการควบคุมหูรูดไม่ดี

มีปัญหาการนอน

เด็กอาจต้องการนอนกลางวันมากกว่าเด็กคนอื่น หรืออาจไม่ยอมนอนตอนกลางวันแม้ว่าจะเหนื่อยมาก เด็กอาจมีความยากลำบากในการลดความตื่นตัวเองลงเพื่อเข้านอน ตื่นนอนตอนกลางคืนบ่อย หรือมียากลำบากเมื่อต้องนอนแยกจากผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิด

ปัญหาในการนอนมักเกี่ยวข้องกับเด็กที่แสวงหากิจกรรมการเคลื่อนไหวมากกว่าเด็กทั่วไป ถ้าเด็กทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวในช่วงกลางวันมากเกินไปอาจทำให้ความตื่นตัวเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ในตอนกลางคืนจนไม่สามารถเข้านอนได้ หรือในเด็กที่มีปัญหาหลีกหนีการสัมผัส (tactile defensive) ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กรู้สึกระคายเคืองไม่สบายตัวเวลานอน

ปัญหาภูมิแพ้

เด็กที่มีปัญหาการประมวลผลความรู้สึกสมองนั้นมักพบร่วมกับภาวะภูมิแพ้ เด็กอาจแพ้อาหาร ฝุ่น เกสรดอกไม้ หญ้า ขนสัตว์ หรือยาบางตัว

ปัญหาการประมวลผลข้อมูลความรู้สึกสมองพบร่วมกับเด็กกลุ่มใดบ้าง

ปัญหานี้พบร่วมได้ในเด็กบางกลุ่ม เช่น เด็กออทิสซึ่ม เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการบางด้านล่าช้า (PDD) เด็กที่มีปัญหาการพูด และได้รับการพิจารณาปัญหาร่วมกับเด็กที่แม่ติดเหล้าขณะตั้งครรภ์ (fetal alcohol syndrome) เด็กที่เป็นโรค fragile X syndrome และเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และปัญหานี้ยังส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กที่มาจากบ้านเด็กกำพร้า และมักพบปัญหานี้ในเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (Learning disabilities) หรือเด็กสมาธิสั้น (Attention deficits) ซึ่งเด็กเหล่านี้ถ้าได้รับการกระตุ้นระบบประสาทความรู้สึกจากนักกิจกรรมบำบัดแล้วมักจะส่งผลต่อพัฒนาการในทางที่ดี

Reference: http://www.sensory-processing-disorder.com

แปลและเรียบเรียงโดย Mind Brain & Body

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view