http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม1,001,451
เปิดเพจ1,220,573

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

 

                ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ เป็นระบบรับความรู้สึกที่บอกเราถึง การเคลื่อนไหวและตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย โดยจะเป็นระบบที่ทำงานร่วมกับระบบการรับสัมผัส และการรับความรู้สึกสมดุลการทรงตัว

ตัวรับความรู้สึกของระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อนั้นอยู่ที่บริเวณ กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็นและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน สิ่งที่กระตุ้นการทำงานของระบบการรับความรู้สึกชนิดนี้ คือ การเคลื่อนไหวและแรงโน้มถ่วงของโลก

ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อหรือ “Position sense” จะส่งข้อมูลบอกให้รู้ว่ากล้ามเนื้อมีการยืดหรือกำลังหดตัวอยู่ และข้อต่อกำลังงอหรือกำลังเหยียดตรงอยู่ แม้ในขณะที่ร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหว แรงโน้มถ่วงของโลกก็จะส่งสัญญาณมากระตุ้นตัวรับความรู้สึกนี้โดยที่เราไม่รู้ตัว

ระบบการรับความรู้สึกกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ นั้นทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับระบบการรับสัมผัส และระบบการรักษาสมดุลทรงตัว บางครั้งผู้เชี่ยวชาญเรียกการทำงานร่วมกันนี้ว่า กระบวนการ “ Tactile-proprioceptive”หรือ” vestibular-proprioceptive”

กระบวนการ Tactile-Proprioceptive หรือ somatosensory เป็นการรับรู้ของระบบสัมผัสและตำแหน่งต่างๆของร่างกายร่วมกัน ในลักษณะส่งเสริมซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อจับดินสอต้องจับด้วยแรงเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอไม่ให้ดินสอหลุดมือขณะเขียนหนังสือ

กระบวนการ Vestibular-Proprioceptive เป็นการทำงานของระบบรักษาสมดุลร่วมกับการรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกายร่วมกันขณะร่างกายมีการเคลื่อนไหว เช่น ขณะเรากำลังโยนรับบอล หรือกำลังปีนป่าย

การทำหน้าที่ของระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ ทำให้เรามีความสามารถในการรับรู้ตัวเอง (body awareness) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการควบคุมการเคลื่อนไหว และการวางแผนการเคลื่อนไหว (motor planning) ทำให้เราสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวเดินได้อย่างราบรื่น หรือวิ่งได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เราเกิดความมั่นคงทางด้านอารมณ์ (Emotional security) มั่นใจในการเคลื่อนไหวของตนเอง    

ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อเป็นระบบการรับความรู้สึกที่อยู่ภายนอกอำนาจจิตใจ (Unconscious) ดังนั้นเราจึงไม่ได้คิดว่าเราจะต้องนั่งตัวให้ตรงขณะอยู่บนเก้าอี้ เพราะมันเป็นระบบที่ทำงานโดยอัตโนมัติ

 

The Out of Sync Proprioceptive Sense เด็กที่มีภาวะบกพร่องของระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

 

ความบกพร่องของระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ คือ กระบวนการที่ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน รับและประมวลผลข้อมูลผิดพลาด โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบร่วมกับปัญหาของระบบรับสัมผัสและระบบการรับรู้สมดุลทรงตัว ซึ่งมีน้อยมากที่จะพบเฉพาะปัญหาจากระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่ออย่างเดียว

เด็กที่มีความบกพร่องของระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ จะมีความยากลำบากในการแปลผลข้อมูลความรู้สึกของตำแหน่งร่างกาย การเคลื่อนไหวของศรีษะและรยางค์ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เด็กขาดสัญชาตญาณพื้นฐานในการควบคุมการเคลื่อนไหวโดยอัตโนมัติไป

เด็กที่มีความบกพร่องในการรับรู้ส่วนต่างๆ และตำแหน่งของร่างกาย นั้นเนื่องมาจากไม่สามารถควบคุมหรือสังเกตการณ์และติดตามการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กตนเองได้ ทำให้การวางแผนการเคลื่อนไหว (motor planning) เป็นสิ่งที่ยากและท้าทายมากสำหรับเด็กมาก เด็กอาจแสดงลักษณะเคลื่อนไหวเชื่องช้า หรือหงุดหงิดง่าย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะมองว่าเป็นเด็กซุ่มซ่าม

บางครั้งเด็กมักจะชน กระแทกทุกๆ สิ่งหรือทุกๆคน ที่อยู่ใกล้ หรืออาจแสดงอาการหงุดหงิดกับการเดินลงถนนที่เป็นทางลาดเอียง

การจัดการกับวัตถุจะทำได้ยาก เด็กอาจจะกะแรงไม่ถูกออกแรงมากหรือน้อยเกินไป เขียนหนังสือกดจนไส้ดินสอหัก ทำน้ำหกเป็นประจำ ยากลำบากในการจับวัตถุที่มีน้ำหนักมาก เช่น ถังน้ำ  หรือบางครั้งก็ยากลำบากในการจับวัตถุที่มีน้ำหนักเบา เช่น ส้อมและหวี เด็กอาจจะมีความยุ่งยากในการยกถือวัตถุไว้ไม่ให้ตกถ้าสิ่งของนั้นมีน้ำหนักที่แตกต่างกัน

จากการที่เด็กมีความยากลำบากในการรับรู้ร่างกายตนเอง เด็กจึงต้องพยายามใช้ตามองว่าตอนนี้ร่างกายกำลังทำอะไรอยู่ เช่น เวลารูดซิบเสื้อ กดกระดุมเสื้อ ลุกขึ้นจากเตียงขณะที่อยู่ในห้องมืดๆ กลายเป็นเรื่องยาก ในบางสถานการณ์ถึงแม้ว่าเด็กจะคอยใช้การมองช่วยในการเคลื่อนไหวตลอด แต่เด็กก็ไม่สามารถใช้ร่างกายทั้งสองด้านทำงานประสานกันได้เป็นอย่างดี

เด็กบางคนอาจจะรู้สึกกลัวเวลาที่ต้องเคลื่อนไหว เพราะเค้าไม่สามารถควบคุมความมั่นคงในการทรงท่าได้ และเมื่อต้องเคลื่อนไหวในท่าทางหรือตำแหน่งใหม่ๆ เด็กจะรู้สึกขาดความมั่นคงอารมณ์ (emotional insecurity)

Reference: www.pdd.org

แปลและเรียบเรียงโดย Mind Brain & Body

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view