http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม1,001,456
เปิดเพจ1,220,578

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

 

ระบบการรักษาสมดุลทรงตัวคือระบบที่บอกเราว่าศีรษะและร่างกายของเราอยู่ในตำแหน่งใดสัมพันธ์กับพื้นผิวโลก ซึ่งระบบนี้จะรับข้อมูลเกี่ยวกับการทรงตัวและการเคลื่อนไหวมาจากบริเวณคอ ตา และร่างกาย แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลที่ระบบประสาทส่วนกลาง แล้วจึงส่งสัญญานกลับมาควบคุมความตื่นตัวของกล้ามเนื้อเพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น

 

ตัวรับข้อมูลของระบบการรักษาสมดุลนั้นอยู่ในหูชั้นใน เป็นระบบที่ทำงานรับข้อมูลอยู่ตลอดเวลาเมื่อศีรษะมีการเคลื่อนไหว แรงดึงดูดของโลกและการเคลื่อนไหวจะเป็นตัวกระตุ้นตัวรับความรู้สึกนี้ ทำให้เกิดการตอบสนองของร่างกายคือ

-          ทำให้เราตั้งตัวตรงโดยอัตโนมัติ

-          เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นต่อการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ

-          บอกถึงสิ่งอาจจะเป็นอันตรายที่มีการเคลื่อนไหวรอบตัวเราจากสั่นสะเทือนของอากาศ

นอกจากหูชั้นในแล้วมนุษย์ยังมีหูชั้นนอกที่คอยรับความรู้สึกสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหว และเป็นตัวคอยรับเสียง

 

ในหนังสือ Sensory Integration and the child ดร. Ares อธิบายว่าระบบการรักษาสมดุลทรงตัวคือระบบที่เป็นพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ แรงดึงดูดของโลก และวัตถุทางกายภาพต่างๆ บนโลก และระบบการรับความรู้สึกอื่นๆ นั้นทำงานโดยใช้ระบบการรักษาสมดุลทรงตัวเป็นพื้นฐาน ทำให้ระบบประสาทต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าระบบการรักษาสมดุลการทรงตัวทำงานโดยขาดประสิทธิภาพหรือความแม่นยำ การประมวลผลของระบบประสาทการรับความรู้สึกอื่นๆ ก็จะขาดประสิทธิภาพไปด้วย

 

The Out of Sync Vestibular Sense/เด็กที่พร่องในการประมวลผลประสาทการทรงตัว

 

ความบกพร่องในการประมวลผลของระบบประสาทการทรงตัวคือความผิดพลาดของสมองในการประมวลผลข้อมูลความรู้สึกที่ได้รับจากหูชั้นใน

 

เด็กที่มีความบกพร่องของระบบการทรงตัวจะมีความผิดพลาดในการประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว แรงดึงดูดของโลก การทรงตัว และมิติสัมพันธ์ เด็กอาจมีการตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวมาก หรือน้อยเกินไป หรือทั้งมากและน้อยเกินไปร่วมกัน

 

เด็กเหล่านี้อาจมีปัญหาในการปรับการทรงท่าเพื่อการทรงตัว หกล้มบ่อย เซเสียการทรงตัวขณะนั่งเก้าอี้ มักเอามือเท้าศรีษะหรือนอนฟุบโต๊ะเวลาทำงาน อาจเคลื่อนไหวเก้งก้าง สหสัมพันธ์ไม่ค่อยดี และงุ่มง่าม เสียการทรงท่าง่ายเวลามีคนอื่นชนเบาๆ

 

ปัญหาจากระบบการปรับการทรงท่าอาจทำให้เด็กมีปัญหาการควบคุมกล้ามเนื้อตา อาจมีความยากลำบากในการมองตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว หรือจ้องมองวัตถุขณะศีรษะเด็กเคลื่อนไหว ทำให้ในโรงเรียนเด็กจะงงเวลาคัดลอกคำจากกระดาน และส่งผลถึงการกวาดกล้ามเนื้อตาขณะอ่านหนังสือ ทั้งนี้ระบบการทรงตัวอาจเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการประมวลผลด้านภาษา

 

แม้ว่าเด็กส่วนใหญ่ที่มีปัญหาการทรงตัวส่วนใหญ่จะแสดงพฤติกรรมเคลื่อนไหวงุ่มง่าม แต่อย่างไรก็ตามการที่เด็กไม่สามารถควบคุมความตื่นตัวเองลงได้นั้นก็เกิดจากสมองไม่สามารถปรับข้อมูลที่ได้รับจากระบบการทรงตัวได้ เกิดจากการที่เซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่จัดการการเคลื่อนไหวนั้นทำงานตลอดเวลา ทำให้เด็กวุ่นวายเมื่อเคลื่อนไหว ซึ่งส่งผลต่อสมาธิ อารมณ์และพฤติกรรมของเด็ก

 

เด็กที่มีปัญหาการประมวลผลการทรงตัวอาจมีปัญหาในการจัดการข้อมูลความรู้สึกดังต่อไปนี้

a)             มีการรับความรู้สึกการเคลื่อนไหวที่มากเกินไป ทำให้

  1. ความทนทานต่อการเคลื่อนไหวต่ำ
  2. มีปัญหารู้สึกกลัว ไม่มั่นคงปลอดภัยต่อแรงดึงดูดของโลก (Gravitational Insecurity)

b)            มีการรับความรู้สึกการเคลื่อนไหวที่ต่ำเกินไป ทำให้อยากเคลื่อนไหวตลอดเวลา

Reference: www.pdd.org

แปลและเรียบเรียงโดย Mind Brain & Body

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view