http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม997,732
เปิดเพจ1,216,293

พัฒนาการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก

พัฒนาการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก

The Normal Development of Sensory Integration in Infants and Children

การพัฒนาระบบประมวลผลประสาทความรู้สึกของเด็ก

 พัฒนาการการประมวลผลประสาทความรู้สึกของเด็กนั้นสามารถแสดงเปรียบเทียบได้กับบล็อก 4 ระดับ โดยเด็กจะเริ่มต้นพัฒนาความสามารถในระดับแรกจนกระทั่งเด็กมีความพร้อมและก้าวขึ้นสู่พัฒนาการในลำดับที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นระดับที่การประมวลผลประสาทความรู้สึกในขั้นที่สูงขึ้นก็จะมีความซับซ้อนมากขึ้น

ในเด็กทุกคนจะมีแรงขับภายในให้แสวงหาข้อมูลความรู้สึกประเภทต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบประมวลผลประสาทความรู้สึกของตน ในทุกๆ วัน เด็กจะสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง เมื่อเด็กประสบความสำเร็จในการทดลองทำสิ่งต่างๆ จะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ

            กระบวนการพัฒนาการประมวลผลความรู้สึกของสมอง (Sensory Integration) นี้เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ โดย ดร. แอร์ ผู้คิดค้นได้อธิบายแสดงออกมาเป็น 4 ลำดับดังนี้

 

ลำดับแรก การรับความรู้สึกเบื้องต้น (Primary Sensory Integration)

 

            เริ่มต้นตอนเด็กอายุ 2 เดือน เด็กเริ่มเรียนรู้ที่จะจัดการกับสิ่งเร้าความรู้สึก (Sensory) ต่างๆ รอบตัว โดยสิ่งเร้า ความรู้สึกที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรก คือ ความรู้สึกจากผิวหนัง (Tactile Sense) ความรู้สึกจากระบบการรักษาสมดุลทรงตัว (Vestibular sense) และความรู้สึกจากข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ (Proprioceptive sense)

            การกระตุ้นการรับความรู้สึกสัมผัสจากปากและผิวหนังนั้นจะทำให้เด็กรู้สึกพึงพอใจ เด็กจะดูดอม สิ่งต่างๆ และชอบให้คนจับและไกวตัว ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้จะพัฒนามาขึ้นเป็นความผูกพันของทารกและมารดา แล้วเด็กก็จะเรียนรู้ความเชื่อมโยงของการดูดกลืน การกอด และเริ่มยิ้มตอบสนองแสดงความพึงพอใจ

            ทารกจะมีการรับรู้ข้อมูลการเคลื่อนไหวจากระบบการรับรู้การทรงตัว (Vestibular sense) และระบบการรับความรู้สึกจากข้อต่อ เอ็นกล้ามเนื้อ (Proprioceptive sense) และเมื่อจอประสาทรับภาพมีการพัฒนามากขึ้น เด็กจะสามารถคาดการและเลียนแบบการแสดงออกสีหน้าของพ่อแม่ได้ ร่วมกับการควบคุมกล้ามเนื้อตาที่พัฒนาขึ้น ทำให้เด็กสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ใกล้ๆ ตัวได้ ทำให้เด็กมีเรียนรู้และมีความไว้วางใจเมื่อมีคนอื่นเข้ามาใกล้ๆ

            ระบบการทรงตัว และระบบการรับความรู้สึกจากข้อต่อ เอ็นและกล้ามเนื้อนั้นมีผลต่อการควบคุมและการปรับการทรงท่า (posture) และความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle tone) โดยอัตโนมัติของเด็ก เด็กจะพยายามทดลองการเคลื่อนไหวของตนเองซ้ำๆ จนประสบความสำเร็จ เด็กรู้สึกมั่นคงปลอดภัยเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกายตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงแรงดึงดูดของโลก ซึ่งการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เด็กรู้สึกถึงความมั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

ลำดับที่สอง การรับความรู้สึกสั่งการเคลื่อนไหว (Sensory-Motor Foundations)

 

            หลังจากการพัฒนาความรู้สึกขั้นพื้นฐานในลำดับแรก สมองเด็กหนึ่งขวบจะเริ่มพัฒนาการรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งการรับรู้ร่างกาย (body percept) นั้นเป็นภาพที่อยู่ในใจ ทำให้เด็กรู้ว่าส่วนต่างๆ ของร่างกายตนเองอยู่ที่ตำแหน่งใด มีความสัมพันธ์กันอย่างไร และจะใช้เพื่อการเคลื่อนไหวได้อย่างไร โดยเด็กจะใช้ข้อมูลการรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการรับภาพทางสายตา ซึ่งจะทำให้เด็กมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น

            ระหว่างที่การรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกายมีการพัฒนา การเคลื่อนไหวร่างกายสองซีกร่วมกัน (Bilateral Integration) ก็จะมีการพัฒนาขึ้นด้วย ซึ่งเป็นกระบวนการทำให้เด็กสามารถใช้ร่างกายทั้งสองซีกได้อย่างสัมพันธ์ มีความราบรื่น ของการเคลื่อนไหว ทำให้เด็กพัฒนาความสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เช่น เล่นเขย่าของเล่นจากมือซ้ายแล้วเปลี่ยนไปถือมือขวา

             ความสามารถในการใช้สองมือร่วมกันนั้นบ่งบอกถึงการทำงานร่วมกันระหว่างสมองทั้งสองซีก ซึ่งสมองซีกซ้ายจะควบคุมร่างกายซีกขวา เมื่อวุฒิภาวะสมองของเด็กพัฒนาขึ้นเด็กจะเริ่มแสดงความถนัดของมือข้างใดข้างหนึ่งออกมา สามารถแยกการเคลื่อนไหวของแขนได้ทีละข้างและใช้แขนทำงานข้ามแนวกลางลำตัวได้ (cross the midline) เด็กจะสามารถใช้มือข้างหนึ่งเล่นเขย่าของและมืออีกข้างเล่นบิดนิ้วหัวแม่เท้าได้

            การควบคุมการทรงท่าก็เริ่มมีการพัฒนามากขึ้น เด็กสามารถปรับการเคลื่อนไหวของศรีษะ ลำตัว คอ ให้ตั้งตรง ต้านแรงดึงดูดของโลกได้อย่างอัตโนมัติ เด็กพัฒนาความมั่นคงของคอ และลำตัว ขณะหันศรีษะมองไปรอบๆ ได้

             จากการที่ลำคอและศรีษะมีความมั่นคงจะช่วยให้เด็กสามารถจ้องหรือมองสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ในขณะเดียวกันการที่เด็กสามารถคงสายตาจ้องมองนิ่งๆ ได้ก็จะช่วยส่งเสริมให้เด็กพัฒนาการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและพัฒนาสำรวจสิ่งรอบๆ ตัวได้มากขึ้น 

            เด็กเริ่มต้นพัฒนาการคืบ ไปสู่การคลาน การใช้แขนและขาร่วมกัน ซึ่งเป็นการทำงานรวมกันระหว่างสมองทั้งสองซีก และเป็นพื้นฐานของการพัฒนาสหสัมพันธ์ระหว่างร่างกายทั้งสองซีก (bilateral coordination)

            ความสมบูรณ์ของวุฒิภาวะระบบการรับสัมผัส (Tactile), ระบบการทรงตัว (Vestibular), และระบบการรับรู้ข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ (Proprioceptive) จะทำให้เด็กมีความสามารถในการวางแผนการเคลื่อนไหว (Praxis) ซึ่งจะเป็นความสามารถในการจัดการกับสิ่งที่ตนเองไม่เคยทำมาก่อน และเรียนรู้จัดการกับสิ่งนั้นอีกครั้งโดยไม่ต้องคิดนาน ยกตัวอย่างเช่น การกลิ้งตัวไปข้างหน้า เด็กจะต้องใช้เวลาในการวางแผนการเคลื่อนไหวครั้งแรกเพียงเล็กน้อย หลังจากการฝึกทำซ้ำบ่อยๆ เด็กจะสามารถกลิ้งได้อย่างคล่องแคล่ว

            การควบคุมระดับกิจกรรม (activity level) ของเด็กก็จะมีการพัฒนามากขึ้น ช่วงสมาธิ (attention span) และความมั่นคง ปลอดภัยทางอารมณ์ (emotional security) มีมากขึ้น เพราะการประมวลผลความรู้สึกที่ได้จะทุกระบบทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น ทำให้เด็กสามารถนั่งเบาะเด็กบนรถจักรยานไปซื้อของกับแม่ได้ กดแป้นเปียโนได้หลายนาที แยกความแตกต่างระหว่างพ่อ แม่ และคนแปลกหน้าได้ และสามารถนอนหลับสนิทได้หลังจากสิ้นสุดวันที่วุ่นวาย  

 

ลำดับที่สาม การรับรู้ทักษะการเคลื่อนไหว (PERCEPTUAL-MOTOR SKILLS)

 

ในระดับนี้เด็กจะเริ่มมีการพัฒนาการรับรู้ (Perception) และการเรียนรู้ (Cognition) ทำให้สมองเข้าใจข้อมูลความรู้สึกต่างๆ การรับรู้และแยกแยะความรู้สึกต่างๆ มีการพัฒนามากขึ้น เด็กสามารถเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น

            ระบบการได้ยิน (Auditory sense) จะมีความสำคัญมากขึ้นทำให้เด็กเข้าใจคำศัพท์และการสื่อสารผ่านการผู้คุยโต้ตอบ

    การรับรู้ทางด้านสายตามีการพัฒนาขึ้น เด็กสามารถแปรผลข้อมูลที่มาจากการมองเห็นได้แม่นยำมากขึ้น และสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของตนเองกับวัตถุและบุคคล (spatial relation ships) อื่นได้

            สหสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ (Eye-hand coordination) ก็เริ่มพัฒนามากขึ้นทำให้เด็กสามารถถือไหมพรมเส้นเล็กได้ วาดภาพรูปทรงง่ายๆ ได้ รับบอล และดูดของจากหลอดดูดได้ และสหสัมพันธ์ระหว่างตาและมือนี้ก็จะเป็นพื้นฐานความสามารถของการประมวลผลข้อมูลจากการมองและการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Visual-Motor integration) ซึ่งจำเป็นสำหรับการร้อยลูกปัด หรือการต่อภาพจิ๊กซอว์

            การเล่นต่อจิ๊กซอว์สำหรับเด็กนั้นเป็นเพียงเล่นเพื่อความสนุกสนาน แต่แท้ที่จริงนั้นการเล่นสิ่งต่างๆ ของเด็กล้วนแล้วเป็นการฝึกพัฒนาการประมวลผลความรู้สึกต่างๆ (sensory integration) ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะการจัดการ และเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัว เด็กจะพัฒนาทักษะพื้นฐานต่างๆ (basic skill) เหล่านี้ จนพร้อมเมื่อเด็กอายุ 3 ขวบ และเลื่อนขั้นไปพัฒนาทักษะขั้นสุดท้ายของการประมวลผลความรู้สึกสมอง (Sensory Integration) ในลำดับที่ 4

 

ลำดับที่สี่  ความพร้อมทางวิชาการ (ACADEMIC READINESS)

         

            ในระดับนี้คือระดับสุดทายของการประมวลผลความรู้สึกสมอง (Sensory Integration) เป็นระดับความพร้อมทางวิชาการ ซึ่งรวมถึงทักษะการคิดเชิงนามธรรม และการคิดเป็นเหตุเป็นผล (abstract thought and reasoning) ทักษะการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน (complex motor skill) การคงสมาธิ (regulation of attention) ทักษะการจัดการ (organization of behavior) ความความถนัดของร่างกาย หรือสมองซีกใดซีกหนึ่ง ความมั่นใจ และความสามารถในการควบคุมตนเอง

            และความสามารถต่างๆ เหล่านี้จะพัฒนาจนเด็กอายุ 6 ขวบ ทำให้วุฒิภาวะของสมองเด็กพัฒนาจนมีสมองซีกเด่น ทำให้การประมวลผลข้อมูลของสมองมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการเคลื่อนไหว หรือทำสิ่งต่างๆ จนเด็กสามารถใช้เพียงการรับรู้ข้อมูลจากการมองและการฟังก็สามารถเรียนรู้สิ่งรอบตัวได้

            การแยกแยะข้อมูลจากการสัมผัสมีการพัฒนาขึ้น ทำให้เด็กสามารถยับยั้งการตอบสนองโดยอัตโนมัติที่มาจากการกระตุ้นสัมผัสผิวได้ ในฤดูหนาวสมองของเด็กสามารถตัดความรู้สึกไม่สบายจากขนเสื้อ หรือหมวกออกไปได้ เด็กสามารถแยกแยะได้ระหว่างการสัมผัสหรือแตะแบบเป็นมิตร และการผลักได้

            ระบบการรับรู้ข้อต่อ เอ็นกล้ามเนื้อ (Proprioceptive sense) ที่ทำงานร่วมกับระบบการรับรู้การทรงตัว (Vestibular sense) และระบบการรับสัมผัส (Tactile sense) ได้เป็นอย่างดีนั้น จะทำให้เด็กสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างมีสหสัมพันธ์ (motor coordination) เด็กสามารถวิ่ง กระโดด และเล่นกับเพื่อนได้อย่างสนุกสนาน

            ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก (fine motor skill) ของเด็กจะมีการพัฒนามากขึ้น ทำให้เด็กสามารถติดกระดุม รูดซิบ และเล่นปั่นลูกข่างด้วยมือข้างที่ถนัดได้ และใช้มือควบคุมดินสอในการเขียน เรียนรู้รูปทรงและสัญลักษณ์ได้

            มีมโนภาพ (visualization) ลำดับเหตุการณ์ในอดีตและอนาคตได้ เช่น เมื่อวานเล่นปาบอล พรุ่งนี้จะมีเล่นตีเบสบอล ซึ่งมโนภาพจากการคิดจะช่วยให้เด็กเข้าใจระหว่างเรื่องจริงและเรื่องสมมติ เช่น แยกได้ว่าสัตว์ประหลาดจริงกับแม่แกล้งทำหน้าผีต่างกันอย่างไร

            ทักษะการเล่นทางสังคมมีการพัฒนาขึ้น เด็กสามารถแลกเปลี่ยนความคิดและของเล่นได้ มีความยืดหยุ่นทางความคิดเมื่อเพื่อนไม่เห็นด้วยกับตนเอง และสามารถโน้มนาวจูงใจให้คนอื่นเห็นด้วยกับตนเองได้ เล่นเกมตามกฎกติกาได้ สร้างเพื่อนสนิทได้


            พัฒนาการของการประมวลผลความรู้สึกของสมอง (sensory integration) นั้นจะมีไปตลอดชีวิต เมื่อเด็กเจอกับสถานการณ์ใหม่ๆ เข้ามาในชีวิตเด็กจะสามารถเรียนรู้และปรับตัวในทางที่ถูกต้อง มีความรู้สึกดีกับตนเองและมีความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในโรงเรียน


Reference : The out of sync child recognizing and coping with sensory integration dysfunction

แปลและเรียบเรียงโดย Mind Brain & Body physical-emotional-social child development center

www.MindBrainChildActivity.com  Email; vasan_patisen@hotmail.com Tell 086-9199879

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view