http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม997,740
เปิดเพจ1,216,302

การกำกับ/ควบคุมตนเอง

Self Regulation: การกำกับ/ควบคุมตนเอง

 

การกำกับ/ควบคุมตนเองคืออะไร

การกำกับ/ควบคุมตนเอง (Self-Regulation) คือความสามารถของบุคคลในการปรับและควบคุม ระดับพลังงาน, อารมณ์, พฤติกรรม และสมาธิของตนเอง การกำกับ/ควบคุมตนเองที่เหมาะสมนั้นควรมีวิธีการปรับและควบคุมในลักณะที่เป็นที่ยอมรับของสังคม

 

พัฒนาการกำกับ/ควบคุมตนเองเกิดขึ้นในลักษณะดังต่อไปนี้

  • 12-18 เดือน เมื่อเด็กเริ่มตระหนักถึงความคาดหวังทางสังคม และพัฒนาความสามารถในการเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเมื่อผู้ปกครองร้องขอ ในเด็กส่วนใหญ่ ในขั้นต้นของการกำกับควบคุมตนเองนี้ต้องการให้ผู้ใหญ่อยู่ใกล้ๆ คอยชี้นำพฤติกรรม
  • ในช่วงอายุ 2 ขวบ ความสามารถนี้พัฒนาในจุดที่เด็กเริ่มพัฒนาการควบคุมตนเอง หรือความสามารถในการแสดงพฤติกรรมตามการชี้แนะของผู้อื่นมากขึ้น แม้แต่ตอนที่พ่อและแม่ไม่ได้อยู่ใกล้ๆ
  • หลังจากที่เด็กอายุ 3 ขวบ เด็กส่วนใหญ่สามารถพัฒนากลยุทย์การกำกับควบคุมตนเองจากประสบการณ์ที่เคยใช้ในอดีตได้แล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เด็กจะแสดงออกในทางต่างๆ ที่สะท้อนว่าตนเองคิดอย่างไรเมื่อแม่หรือพ่อต้องการให้พวกเขาแสดงออกในสถาณการณ์ที่แตกต่างกัน

 

กระบวนการที่เกี่ยวของในการกำกับควบคุมตนเองสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนกว้างๆ ได้แก่ การควบคุมประสาทสัมผัส (sensory regulation), การควบคุมอารมณ์ (emotional regulation) และการควบคุมการรู้คิด (cognitive regulation)

  • การควบคุมประสาทสัมผัส (Sensory Regulation): ทำให้เด็กสามารถคงระดับความตื่นตัวที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัส
  • การควบคุมอารมณ์ (Emotional Regulation): ทำให้เด็กสามารถตอบสนองต่อกฎเกณฑ์ทางสังคมด้วยขอบข่ายอารมณ์ที่หลากหลายผ่านการริเริ่ม (initiating), การยับยั้ง (inhibiting), หรือการปรับแต่ง (modulating) พฤติกรรมของตนเองในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้อยู่ในของข่ายที่สังคมยอมรับได้
  • การควบคุมการรู้คิด (Cognitive Regulation): ทำให้เด็กใช้กระบนการรู้คิด (mental) ที่จำเป็นสำหรับการแก้ไขปัญหา และเกี่ยวกับความสามารถต่างๆ เพื่อให้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานได้

 

ทำไมการกำกับควบคุมตนเองจึงมีความสำคัญ

ทักษะการกำกับควบคุมตนเองนั้นเกี่ยวข้องกับการที่เด็กจะจัดการหลายๆ งานได้ดีแค่ไหนในช่วงวัยเด็ก และด้วยทักษะเหล่านี้เด็กจะมีความสามารถที่มากขึ้นในการจัดการกับความยากลำบากและสภาวะกดดันที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น สัตว์เลี้ยงจากไป, การเสียชีวิตหรือแยกจากไปของบุคคลในครอบครัว สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดผลกระทบจากความเครียดที่เกิดขึ้นที่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต

ในขณะที่เด็กเรียนรู้การกำกับควบคุมตนเอง ทักษะต่างๆ เช่น การจดจ่อ, การแบ่งบันและการแลกเปลี่ยนก็จะพัฒนาขึ้นเช่นกัน สิ่งนี้จะทำให้เด็กเปลี่ยนผ่านจากการพึงพาผู้อื่นไปสู่การเริ่มต้นจัดการด้วยตัวเอง เด็กส่วนใหญ่ในบางช่วงจะมีความยากลำบากในหารจัดการอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองโดยเฉพาะตอนที่เหนื่อย ,หิว หรือเผชิญหน้ากับประสบการณ์ใหม่ๆ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น พวกเขาอาจหงุดหงิด อารมณ์เสีย หรือโมโห ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นเด็ก และไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลให้มากเกินไป แต่อย่างไรก็ตามหากนี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำและมีเหตุมาจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมา และมันน่าจะเป็นปัญหาจริงๆ ที่จะกระทบต่อความสามารถทางวิชาการของเด็ก   

องค์ประกอบอะไรที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาการกำกับควบคุมตนเอง (self-regulation)

  • พฤติกรรม: การตอบสนองทางการกระทำของแต่ละบุคคลซึ่งมักจะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่
  • การประมวลผลระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing): การประมวลผลที่แม่นยำของการกระตุ้นสิ่งเร้าทางความรู้สึกในสิ่งแวดล้อมและจากภายในตนเอง
  • พัฒนาการทางอารมณ์/การควบคุม (Emotional Development/regulation): เกี่ยวกับความสามารถในการรับรู้อารมณ์, การประมวลผลอารมณ์ที่กระตุ้นความคิด, การเข้าใจอารมณ์ และการกำกับควบคุมอารมณ์
  • สมาธิและการจดจ่อ: การคงความพยายาม, การทำงานต่างๆ โดยไม่วอกแวกและสามารถที่จะคงความพยายามนานเพียงพอจนทำงานให้เสร็จ
  • ทักษะสมองส่วนบริหารจัดการ (Executive Function): ทักษะการคิดและการให้เหตุผลขั้นสูง (higher order) (เช่น แม่ต้องการให้ฉันทำอะไรในสถานการณ์นี้?) ***ทั้งนี้การให้ความหมาย Executive Function นั้นขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน
  • การวางแผนและการจัดลำดับ (Planning and Sequencing): การจัดลำดับงานที่มีหลายขั้นตอน หรือประสิทธิภาพของกิจกรรมเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่ดี
  • ความเข้าใจทางด้านภาษา (Receptive Language): ความเข้าใจในภาษาพูดสื่อสาร
  • ทักษะสังคม: ถูกกำหนดโดยความสามารถในการมีส่วนร่วมในการมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกับผู้อื่น (ทั้งภาษาพูด หรือภาษากาย), เพื่อประนีประนอมกับผู้อื่น และสามารถรับรู้และปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคมได้
  • ความจำเพื่อนการใช้งาน (Working memory): ความสามารถในการคงไว้และจัดการข้อมูลชั่วขณะที่เกี่ยวกับความเข้าใจทางภาษา, การให้เหตุผล, และการเรียนรู้ข้อมูลใหม่

 

คุณจะบอกได้อย่างไรว่าเด็กมีปัญหาการกำกับควบคุมตนเอง (self-regulation)

ถ้าเด็กมีความยากลำบากในการกำกับควบคุมตนเองอาจแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้

  • มีการตอบสนองต่ำของระบบประสาทสัมผัส (เช่น ไม่ตอบสนองเวลาถูกเรียกชื่อ, หยิบจับสัมผัสสิ่งต่างๆ, ทนความเจ็บปวดได้สูง)
  • ดูเฉื่อยชา/ไม่แสดงความสนใจ; การแสดงออกส่วนใหญ่เหมือนอยู่ในโลกของตนเอง
  • มีความยากลำบากในการควบคุมการตอบสนองทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมของตนเอง; อารมณ์ฉุนเฉียว, ตอบสนองทางอารมณ์ง่าย, ต้องการการควบคุม, มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น, หงุดหงิดง่าย หรือ ยอมตามมากเกินไป
  • มีอารมณ์ฉุนเฉียวยาวนานกว่าคนทั่วไป
  • มีจำนวนของปัญหาพฤติกรรม หรืออารมณ์ฉุนเฉียวที่เกิดขึ้นต่อวันมากกว่าเด็กทั่วไป
  • ขาดระเบียบวินัย
  • กลยุทย์ปรับพฤติกรรมแบบทั่วไปใช้ไม่ได้ผล
  • หันเหความสนใจง่าย ขาดสมาธิและการจดจ่อ
  • มีปัญหารอบเวลาการหลับนอน
  • ชอบการเคลื่อนไหว แสวงหาแรงกระตุ้นที่เข้มข้น (เช่น การหมุน, วิ่งไปรอบๆ, กระโดด, ชนวัตถุ/ผู้คน)
  • การสื่อสารและทักษะสังคมล่าช้า, ไม่ประสบผลสำเร็จในการสื่อสารโต้ตอบสองทาง
  • เลือกที่จะเล่นคนเดียว หรือมีความยากลำบากในการเข้าใจวิธีเล่นกับเด็กคนอื่น
  • มีความยากลำบากในการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรประจำวัน หรือการเปลี่ยนจากงานหนึ่งไปสู่อีกงาน
  • มีความยากลำบากในการคบกับเพื่อนและการคงความสัมพันธ์กับเพื่อน

 

ปัญหาอื่นที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กมีความยากลำบากในการกำกับควบคุมตนเอง (Self-Regulation)

เมื่อเด็กมีความยากลำบากในการกำกับควบคุมตนเอง (self-regulation) พวกเขาอาจมีความยากลำบากกับสิ่งเหล่านี้

  • มีความไวตต่อเสียง, การสัมผัส หรือการเคลื่อนไหว
  • มีการตอบสนองต่ำต่อประสาทความรู้สึกบางด้าน (เช่น ไม่รับรู้เวลาถูกเรียกชื่อ, ขณะถูกสัมผัส, มีระดับการรับรู้ความเจ็บปวดที่สูง
  • ดูเฉื่อยชา/ไม่แสดงความสนใจ; การแสดงออกส่วนใหญ่เหมือนอยู่ในโลกของตนเอง
  • หันเหความสนใจง่าย, ขาดสมาธิ และการจดจ่อ
  • ขาดทักษะการเคลื่อนไหว; ดูงุ่มง่าม, ขาดสหสัมพันธ์ร่างกาย, การทรงตัว และทักษะการวางแผนการเคลื่อนไหว, และ/หรือ ขาดทักษะการเขียน
  • มีปัญหารอบเวลาการหลับนอน
  • มีพฤติกรรมยึดติดกับอาหารบางอย่าง หรือเป็นเด็กกินยาก
  • มีความยากลำบากในการจัดการดูแลตนเอง (เช่น แปลงผม, สระผม, ตัดเล็บ, แต่งตัว, ร้อยเชือกรองเท้า, การทานข้าวเอง)
  • ชอบการเคลื่อนไหว ดังนั้นพวกเขาจึงแสวงหาการกระตุ้น (เช่น การหมุน, วิ่งไปรอบๆ, การกระโดด, การชนวัตถุสิ่งของ/ผู้คน)
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวบนเครื่องเล่น (เช่น ชิงช้า, สไลเดอร์ เป็นต้น)
  • ดูท่าทางตัวอ่อน หรือความตึงตัวของกล้ามเนื้อต่ำ (low muscle tone) เหนื่อยง่าย และท่าทางขาดความมั่นคง
  • ใช้ความพยายามที่มากเกินไปในการทำงาน, เคลื่อนไหวเยอะเกินไป, เร็วเกินไป, น้ำหนักการเขียนเบาหรือกดแรงเกินไป
  • ทักษะทางสังคมและการสื่อสารล่าช้า, ยากที่จะประสบผลสำเร็จในการสื่อสารโต้ตอบสองทาง
  • เลือกที่จะเล่นคนเดียว หรือมีความยากลำบากในการเข้าใจวิธีเล่นกับเด็กคนอื่น
  • มีความยากลำบากในการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรประจำวัน หรือการเปลี่ยนจากงานหนึ่งไปสู่อีกงาน
  • มีความยากลำบากในการคบกับเพื่อน และการคงความสัมพันธ์กับเพื่อน
  • มีพฤติกรรมเล่นเสียงๆ
  • เปลี่ยนกิจกรรมการเล่นไปมา, แทนที่จะเล่นสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานพอจนประสบความสำเร็จ
  • ดูวุฒิภาวะน้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
  • อารมณ์แปรปรวน (แสดงอารมณ์ขาดความมั่นคงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆ)

 

อะไรที่ช่วยพัฒนาการกำกับควบคุมตัวเอง (Self-Regulation)

  • ทดลองให้กลยุทธ์การจัดการที่หลากหลาย (Trailing Management strategies) ทดลองและปรับแต่งกลยุทธ์ที่หลากหลาย กลยุทธ์การจัดการหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลกับเด็กทุกคน
  • การประมวลผลระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing): ส่งเสริมให้เด็กมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางความรู้สึกอย่างเหมาะสมผ่านกระบวนการบำบัด
  • Social stories: ใช้ภาพเรื่องราวช่วยสอนให้เด็กเข้าใจทักษะทางสังคมที่เด็กอาจสับสนหรือไม่เข้าใจ เป้าหมายของการใช้เรื่องราวเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้แก่เด็กโดยการอธิบายรายละเอียดเฉพาะเจาะจงในสถานการณ์นั้นๆ และคำแนะนำที่เหมาะสมในการตอบสนองทางสังคม
  • บทบาทสมมติ (Role playing): เป็นวิธีจัดการความเป็นไปได้ของเรื่องราวที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อสอนให้เด็กมีการแสดงออกและโต้ตอบอย่างเหมาะสม
  • เพิ่มทักษะการสื่อสาร เพื่อเพิ่มความสามารถในการควบคุมการรู้คิดให้ดีขึ้น (cognitively regulate)
  • Alert (Engine) program เพื่อส่งเสริมการกำกับความคุมตนเอง (self-regulation) ผ่านการใช้กลยุทธ์ประสาทสัมผัส (sensory) และการรู้คิด (cognitive)
  • M.O.R.E program ดำเนินการโดยการใช้องค์ประกอบการเคลื่อนไหว (motor components), การจัดการช่องปาก (oral organization), ระบบการหายใจ, และการสบตา เพื่อช่วยในการการควบคุมประสาทสัมผัส (Sensory Regulation) 
  • The Wilbarger Protocol (Deep Pressure Proprioceptive Technique) คือกระบวนการบำบัดที่ถูกออกแบบมาเพื่อลดการตอบสนองที่มากเกินไปของระบบประสาทสัมผัส (tactile defensiveness) และช่วยควบคุมประสาทสัมผัส (sensory regulation)

 

กิจกรรมอะไรที่ช่วยเพิ่มการกำกับควบคุมตนเอง (self-regulation)

  • อาหารประสาทสัมผัส (Sensory diet) ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสให้แก่ร่างกายเพื่อให้ควบคุมประสาทสัมผัส (sensory regulation) ได้ดีขึ้น โดยกิจกรรมเช่น
    • เดินมือ (Wheelbarrow walking)
    • เดินท่าสัตว์ (Animal walks)
    • กระโดดแทรมโพลีน
    • ปั่นจักรยาน
    • นั่งชิงช้า (แนวหน้า-หลัง, แนวด้านข้าง, แนวหมุน)
    • Rough and tumble play โดยนวดทับประกบเด็กด้วยหมอน หรือลูกบอล
    • สะพายกระเป๋าเป้ที่มีน้ำหนัก
    • การใช้ของที่มีน้ำหนัก แผ่นข้าวน้ำหนัก (wheat bag) วางไว้ที่ตักขณะนั่ง หรือผ้าห่มน้ำหนัก (heavy blanket) ขณะนอน
    • ของเล่นที่เคี้ยวได้ (Chewy toys)
    • ทักษะตัวต่อ (Discrete skills) กิจกรมที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด เช่น ตัวต่อ puzzles, ของเล่นที่ใช้การประกอบ (construction tasks), เขาวงกต หรือการลากเส้นภาพต่อจุด
    • งานที่ใช้การจดจ่อ (Narrowly focused tasks): กิจกรรมที่มีการเรียงลำดับ, การจัดการ, และการจัดหมวดหมู่ (เช่น การ์ดเกมส์ Uno, ไพ่ หรือ Blink)  
    • ตารางภาพ (Visual schedules) ช่วยให้เด็กเห็นและเข้าใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ตารางยังคงช่วยในการจัดการตนเองและการวางแผนล่วงหน้า
    • นาฬิกาจับเวลา (Timers) ช่วยในการเปลี่ยนถ่าย (transitions) ทำให้เด็กรู้ว่าอีกนานแค่ไหนตนเองถึงจะต้องไปทำกิจกรรม เวลายังช่วยเตือนเด็กว่ากิจกรรมที่ตนเองชอบกำลังจะสิ้นสุดลง
    • เครื่องนับจำนวนการพูดคุย/การซักถามสำหรับเด็กที่พูดมากเกินไป (over-talkers): ใช้เวลาสั้นๆ ในแต่ละช่วง ขณะที่เด็กกำลังสนุกกับกิจกรรมอยู่ จัดเตรียมช่วง (อาจ 5 ช่วง) ให้เด็กได้พูด หรือถามคำถาม ลบจำนวนลงในแต่ละครั้งที่เด็กพูดหรือถามคำถาม เมื่อเครื่องนับจำนวนครบ, ผู้ใหญ่ไม่ควรตอบสนองและให้เด็กเรียนรู้เมื่อไหร่ควรจะถามคำถามและเมื่อไหร่ที่เราถาม

 

ทำไมต้องเข้ารับการบำบัดเมื่อรู้ว่าเด็กมีความยากลำบากในการกำกับควบคุมตนเอง (self-regulation)

การบำบัดที่ช่วยให้เด็กสามารถกำกับควบคุมตนเอง (self-regulation) มีความสำคัญดังต่อไปนี้

  • ช่วยให้เด็กสามารถใช้ศักยภาพตนเองได้อย่างเต็มที่
  • ช่วยให้เด็กสามารถกำกับควบคุมตนเองในการนอน
  • การเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียนอาจมีความยากลำบากหากเด็กไม่สามารถทำตามคำสั่งต่างๆ ในการเรียนได้ (เช่น ขั้นตอนในห้องเรียน, งานวิชาการที่ต้องทำ)
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็กมีความพร้อมในการจัดการสถานการณ์ทางสังคมที่ดีเมื่อเด็กจะต้องเล่นกับเพื่อน
  • ส่งเสริมให้เด็กแก้ไขปัญหาในสิ่งแวดล้อมที่วุ่นวาย

 

หากไม่แก้ไขปัญหาการกำกับควบคุมตนเองจะนำไปสู่ความยากลำบากในการ?

เมื่อเด็กมีความยากลำบากในการกำกับควบคุมตนเองอาจนำไปสู่ปัญหา

  • ความวิตกกังวลและความเครียดในสถานการณ์ต่างๆ และสร้างความยากลำบากในการพัฒนาศักยภาพทางด้านการศึกษา
  • การใช้ความพยายามเพื่อแสดงพฤติกรรมดี, จะนำไปสู่ความเหนื่อยล้าที่มากเกินไปจนทำให้ไม่สามารถสงบตนเองให้หลับลงได้
  • ความท้าทายเมื่อเด็กต้องอยู่ในกลุ่มเล็กๆ กับคนอื่น เพื่อเล่น หรือเรียนรู้งาน
  • การสร้างและรักษาเพื่อนไว้
  • ครอบครัวของเด็กที่มีประสบการณ์ความยากลำบากในการกำกับควบคุมตนเอง มักมีผลกระทบเชิงลบจากความเครียด และไม่สามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในกิจกรรมแต่ละวันเนื่องจากลูกของพวกเขามีความยากลำบากในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

 

แปลและเรียบเรียงโดย ครูต้น (นักกิจกรรมบำบัด) Mind Brain & Body สิงหาคม 2563

แหล่งที่มา www.childdevelopment.com.au/areas-of-concern/sensory-processing/self-regulation

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view