http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม1,001,478
เปิดเพจ1,220,602

โรคสมาธิสั้น หรือความบกพร่องของการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก

โรคสมาธิสั้น หรือความบกพร่องของการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก

ADHD & Sensory Integration Disorder

Photo Credit Janie Airey/Digital Vision/Getty Images

 

โรคสมาธิสั้น (ADHD) คือโรคหนึ่งที่มักจะได้รับการวินิจฉัยมากที่สุดในเด็ก เนื่องจากทำให้เด็กมีความยากลำบากในการคงสมาธิ จดจ่อ การควบคุมตนเอง และการจัดการสิ่งต่างๆ ส่วนปัญหาในการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึกสมอง (Sensory Processing Disorder; SID/SPD) นั้นทำให้เด็กมีความยากลำบากในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นเสียง แสง สัมผัส การรับความรู้สึกรักษาสมดุลการทรงท่า หรือการรับความรู้สึกสั่งการเคลื่อนไหว โดยเด็กอาจมีการตอบสนองน้อย หรือมากเกินไปในบางระบบ ซึ่งลักษณะอาการต่างๆ ของสองปัญหานี้อาจมีความคาบเกี่ยว หรือคล้ายคลึงกัน

ลักษณะที่คล้ายคลึงกัน : Similarities

เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) และความบกพร่องในการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึกสมอง (SPD) มักแสดงปัญหาและพฤติกรรมบางส่วนต่อไปนี้ เช่น อยู่ไม่นิ่ง ชอบการเคลื่อนไหวมากกว่าเด็กคนอื่น มีความยากลำบากในการจดจ่อกับงานที่ได้รับมอบหมาย หยุกหยิกชอบหยิบจับสิ่งของต่างๆ หรือมักโพล่งตอบคำถามก่อนที่จะฟังคำสั่งให้จบ

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้น : Effects

ปัญหาที่คาบเกี่ยวของความบกพร่องในการประมวลผลระบบประสาทความรู้สึก (SPD) และภาวะสมาธิสั้น (ADHD) นั้นทำให้เด็กมีความยากลำบากในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน หรือการจดจ่อทำงานต่างๆ ให้สำเร็จ ในบทความเรื่อง “New Horizons,” “Sensory Integration, Attention and Learning,” โดย Dana Nicholls และ Peggy Syvertson กล่าวว่า เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งแบบ ADHD หรือ ADD อาจมีปัญหาพัฒนาการของระบบประสาท (nervous system) ที่เกิดจากความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึก (Sensory Integration Dysfunction) เพราะความบกพร่องนี้ทำให้เด็กมีความยากลำบากในการคงสมาธิจดจ่อ (paying attention) และหงุดหงิดกับสิ่งต่างๆ ง่าย (frustrating) 

การบำบัดรักษา : Treatment

การรักษาโรคสมาธิสั้น โดยทั่วไปแล้วใช้การให้ยา การปรับพฤติกรรม และวิธีการจิตบำบัด ส่วนการแก้ไขปัญหาความบกพร่องในการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (SPD) นั้นทำโดยนักกิจกรรมบำบัดที่มีประสบการด้านนี้ ในบทความเรื่อง ADDitude ของ Priscilla Scherer, R.N., อธิบายถึงความจำเป็นในการวินิจฉัยแยกความบกพร่องระหว่างสมาธิสั้น (ADHD) และการบูรณาการประสาทความรู้สึก (SPD) เพราะยา และการปรับพฤติกรรมไม่สามารถแก้ไขปัญหาความบกพร่องในการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึกได้ แม้ว่าลักษณะพฤติกรรมเด็กแสดงออกจะมีความคล้ายคลึงกันก็ตาม

ข้อควรพิจารณา : Considerations

การศึกษาแห่งชาติโดยมหาวิทยาลัยโคโลราโดรายงานว่าพบเด็กที่แสดงอาการร่วมกันระหว่างปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (SPD) และภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ถึงร้อยละ 40 ดังนั้นจึงแนะนำว่าควรมีการพิจารณาทั้งสองปัจจัยนี้ให้ดี

ความเข้าใจผิด : Misconceptions

เนื่องจากความบกพร่องในการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (SPD) และภาวะสมาธิสั้น (SPD) มีความคาบเกี่ยวกัน ผู้ปกครอง ครู หรือบุคลากรทางด้านการแพทย์ต่างๆ อาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับทั้งสองปัญหานี้ได้ ในบทความบทความเรื่อง ADDitude ที่เขียนโดย Scherer, R.N., และผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทั้งสองกล่าวว่า เคยมีช่วงที่เกิดความสับสนอย่างมากที่ลูกของตนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) แล้วมีคนพยายามเปลี่ยนความคิดว่าเป็นปัญหาจากความบกพร่องของระบบประสาทความรู้สึก (SPD) ซึ่งในท้ายที่สุดปรากฏว่าลูกสาวของตนมีทั้งปัญหาความบกพร่องในการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (SPD) ร่วมกับภาวะสมาธิสั้น (ADHD) และได้รับการบำบัดรักษาทั้งสองปัญหานี้ควบคู่ไปด้วยกัน

 

References

 ที่มา Susan Ward Jul 20, 2015, www.livestrong.com แปลและเรียบเรียงโดย นักกิจกรรมบำบัดประจำศูนย์ Mind Brain & Body ธันวาคม 2558

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view