http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม962,415
เปิดเพจ1,174,081

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก


บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของ Sensory Processing?

by Marissa Edwards on May 5, 2010

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง (Sensory Integration) หรือ (SI) คือกระบวนการของสมองในการจัดการความรู้สึกต่างๆ ที่ได้รับเข้ามาจากสิ่งแวดล้อม และจากภายในร่างกายเอง ซึ่งได้แก่ ความรู้สึกสัมผัส (touch) แสง (sight) เสียง (sound) กลิ่น (smell) รสชาติ (test) ความรู้สึกจากการเคลื่อนไหว (Movement) การรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย (body awareness) และการปรับตัวตอบสนองต่อแรงดึงดูดของโลก (the pull of gravity) เพื่อใช้ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดช่วงวัน ซึ่งรวมถึงการแสดงอารมณ์ตอบสนองด้วย โดยความรู้สึกประเภทต่างๆ ที่ได้รับจากร่างกายและสิ่งแวดล้อมนั้นจะตรงเข้าสู่สมองอยู่ตลอดเวลา แล้วเกิดการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นเพื่อใช้สำหรับการตอบสนอง และการเรียนรู้ ถ้าระบบการรับความรู้สึกเหล่านี้ทำงานได้ดี สมองก็จะสามารถรับรู้ แปลความหมาย และจดจำข้อมูลเหล่านั้นเพื่อใช้เป็นทักษะต่างๆ เกิดการเรียนรู้ได้ ดังนั้นการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง (SI) จึงจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ขั้นสูง และการพัฒนาพฤติกรรม การทำงานของระบบบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ (automatically) แต่ในเด็กบางคนนั้นกระบวนการนี้อาจบกพร่องบางส่วน ซึ่งเราเรียกว่า Sensory Processing Disorder (SPD) เป็นความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาทที่ส่งผลต่อการพัฒนาพฤติกรรม การเรียนรู้ และความสามารถในการจัดการสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เด็กเหล่านี้จะต้องใช้สมาธิและความพยายามที่มากกว่าเด็กทั่วไปในการตอบสนองต่อข้อมูลความรู้สึกต่างๆ และเป็นสาเหตุให้เด็กแสดงอารมณ์ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ และยากที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จได้ เด็กกลุ่ม SPD มักจะมีปัญหาในการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะสังคม หรือความสามารถที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ด้านต่างๆ เมื่อเทียบกับวัยเดียวกัน ทำให้เด็กสูญเสียพลังงานมากเกินไปจนมีสมาธิไม่เพียงพอสำหรับการตั้งใจฟังครูสอน การทำตามคำสั่งขั้นตอน ให้งานของตนเองสำเร็จ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กหงุดหงิดง่าย เพราะเด็กต้องใช้พลังงานอย่างมากเพื่อควบคุมระดับความตื่นตัวของตนเอง (regulate their arousal level) การควบคุมสหสัมพันธ์ของร่างกาย การลำดับขั้นตอนและจัดการตามคำสั่ง (organize and sequence direction and tasks) การปรับตัวต่อสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน (transition between activities throughout the day) การสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน และการจัดการกับข้อมูลแสง เสียงต่างๆ ที่ไม่จำเป็น (เช่น เสียงปิดประตู เสียงการเคลื่อนไหว แสงต่างๆ ที่กระตุ้นในห้องเรียน) ซึ่งความยากลำบากเหล่านี้ทำให้เด็กกลุ่ม SPD อาจแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในห้องเรียน เราในฐานะผู้ปกครอง นักการศึกษา หรือผู้ดูแล ควรทำความเข้าใจว่าพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเกิดจากความไม่ตั้งใจ โดยพฤติกรรมส่วนใหญ่ที่เด็กแสดงออกมานั้นก็เพื่อการปรับระดับความตื่นตัวของระบบประสาทเด็กเอง (regulate their nervous systems) ซึ่งไม่ได้เกิดจากความที่เด็กตั้งใจที่จะทำตัวไม่ดี นิสัยเสีย ไม่ร่วมมือ หรือทำตัวมีปัญหา แต่เกิดจากการที่ระบบประสาทของเด็กทำงานหนักมากเกินไป (overload) โดยที่เด็กที่มีปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองอาจแสดงพฤติกรรมบางด้าน ดังต่อไปนี้

  • ขาดสมาธิ
  • หันเหความสนใจง่าย
  • ไม่ให้ความร่วมมือ
  • ขาดการควบคุมตัวเอง
  • อยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา
  • ความตื่นตัวต่ำ เหนื่อยง่าย ล้มเลิกความตั้งใจง่าย
  • ตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ เร็ว หรือช้ามากเกินไป
  • ยุกยิก ไม่นิ่ง
  • นั่งอยู่นิ่งๆ ไม่ได้ (ชอบพิงคนอื่น ชอบนอนมากกว่านั่ง)
  • หกล้มบ่อย
  • โมโหง่าย ก้าวร้าว
  • หุนหันพลันแล่น
  • ซุ่มซ่าม งุ่มง่าม
  • เป็นเด็กขี้วิตกกังวล/กระวนกระวาย
  • หงุดหงิดขี้รำคาญ
  • ความมั่นใจในตัวเองต่ำ
  • กลัวการแข่งขัน
  • เรื่อยเปื่อย ไม่ค่อยมีจุดมุ่งหมาย
  • ไม่มีระเบียบ/วุ่นวาย
  • มีอารมณ์เกรี้ยวกราด/โมโหรุนแรง
  • ขาดความยืดหยุ่น (Inflexible)
  • ไวต่อเสียงต่างๆ มากเกินไป
  • ความยากลำบากต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ
  • ความยากลำบากต่อการสร้างเพื่อน
  • มีความยากลำบากเวลาต้องเข้าแถว
  • ความยากลำบากในทำงานร่วมกับเพื่อน
  • ส่งเสียงดังอย่างไม่เหมาะสม

การดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน กิจกรรมยามว่าง กิจกรรมการดูแลตนเองต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเรา แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ง่ายเลยสำหรับเด็กที่มีปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง (SPD) ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมองข้ามปัญหานี้ มักมองว่าเกิดจากปัญหาพฤติกรรม เนื่องจากเป็นปัญหาที่สังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจน ดังนั้นเมื่อสงสัยว่าบุตรของท่านมาปัญหาพฤติกรรมที่อาจเกิดจากการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองควรปรึกษากุมารแพทย์ หรือนักกิจกรรมบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญด้านทฤษฎีการบูรณาการประสาทความรู้สึก (Sensory Integration)

แปลบทความและเรียบเรียงโดย Mind Brain & Body ปรับปรุงเมื่อ ธันวาคม 2558

Reference : http://nspt4kids.com/therapy/does-your-child-have-bad-behavior-at-school-or-is-it-sensory-processing-disorder/

Tags : ปัญหาพฤติกรรม สมาธิสั้น

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view