http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม957,448
เปิดเพจ1,167,522

บันได 10 ขั้นพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย

บันได 10 ขั้นพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย

 1. พัฒนาการรับรู้ความรู้สึกของตนเอง (Sense of self)

  • ส่งเสริมให้เด็กพูดเกี่ยวกับครอบครัวของตนเอง
  • ถามเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กชอบ และไม่ชอบ
  • ทำกิจกรรมครอบครัวร่วมกันเป็นประจำ

2. พัฒนาความเชื่อใจ (Trust)

  • สร้างสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่น ต้อนรับ  เอาใจใส่
  • รักษาคำมั่นสัญญาที่ให้กับเด็ก
  • มีความหนักแน่นคงเส้นคงวา (Consistent) มีตารางเวลา มีกฎของบ้าน ซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกัน
  • ฟังสิ่งที่เด็กพูดอย่างตั้งใจ
  • ส่งเสริมความเป็นผู้นำในเด็ก

3. เรียนรู้การแยกจากพ่อแม่

  • หากเด็กร้องไห้ หรือกรีดร้อง เมื่อผู้ปกครองต้องแยกออกไป ให้อยู่กับเด็กอีกสักครู่ และพาเด็กไปเข้าร่วมกับกิจกรรมกับครูผู้ดูแล แล้วค่อยพูดกล่าวลาและออกห้องไป
  • พยายามอย่าทำให้เด็กวิตกกังวล หรือกลัว จากพฤติกรรมของเรา แสดงท่าทีที่สงบระหว่างการแยกจาก

4. เรียนรู้เล่นร่วมกันกับเด็กคนอื่น

  • ให้โอกาสเด็กได้สำรวจเด็กคนอื่นเล่นอยู่ห่างๆ หรือเล่นใกล้ๆ กัน เพื่อให้เด็กได้สำรวจซึ่งกันและกัน
  • เด็กจะเข้าไปเล่นกับเพื่อนเมื่อพร้อม ไม่ควรเร่งเด็กมากเกินไป

5. เรียนรู้การแบ่งปัน และผลัดเปลี่ยน (Sharing and Taking turns)

  • พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับ การแบ่งปัน และการผลัดแลกเปลี่ยน
  • ให้มีการผลัดเปลี่ยนกันระหว่างคุณกับลูกที่บ้าน
  • ส่งเสริมให้เด็กพูดเกี่ยวกับความรู้สึกหากคนอื่นไม่แบ่งปัน หรือพูดจาไม่เพราะ
  • ส่งเสริมให้เด็กเล่นเกมส์ที่ต้องมีการผลัดเปลี่ยนกันเล่น เช่น เกมส์บันไดงู

6. พัฒนาการแสดงความคิดเห็น และความต้องการ

  • ส่งเสริมให้เด็กพูดบอกความต้องการของตนเอง
  • ถามความคิดเห็นของลูกบ่อยๆ
  • หลังจากอ่านนิทานให้เด็กฟัง  ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตูการณ์ หรือตัวละครในเรื่อง
  • ถามความคิดเห็นในสถานการณ์จริง ว่าควรจะเป็นอย่างไร

7. เรียนรู้การใช้คำพูดเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง และพัฒนาการควบคุมอารมณ์

  • กระตุ้นให้เด็กพูดเกี่ยวกับความรู้สึกเมื่อถูกเด็กคนอื่นผลัก พูดไม่เพราะ หรือพังของที่ตนกำลังเล่นอยู่
  • ให้ดูรูปภาพสถานการณ์ และถามลูกว่าจะแก้ไขสถานการณ์ยังนี้ไง (เช่น เมื่อครอบครัวไปร้านค้า แล้วหนูเลือกที่จะจ่ายเงินทั้งหมดซื้อของ หรือเก็บไว้เพื่อไปสวนสัตว์อาทิตย์หน้าดี)
  • ช่วยเด็กจำให้ได้ว่าจะใช้คำพูดใด เมื่อสถานการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้น
  • เล่นเกมส์ที่เด็กจะต้องพูดเสียงดัง แล้วเปลี่ยนมาเป็นพูดเสียงเบา
  • พยายามอยู่ใกล้ๆ เมื่อเด็กกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แต่อย่าเข้าไปจัดการหากไม่จำเป็น
  • จัดให้มีพื้นที่สงบหากเด็กต้องการออกไปอยู่คนเดียวเพื่อสงบอารมณ์ตนเอง
  • นัดประชุมครอบครัวเพื่อตั้งกฎของบ้าน และผลลัพธ์ที่จะตามมาหากผิดกฎ (เช่น ถ้าเล่นเอียงตัวยกขาเก้าอี้ มันจะล้มและได้รับบาดเจ็บ หรือถ้าเด็กสองคนแย่งของแล่นชิ้นเดียวกัน แล้วทะเลาะกัน ของเล่นจะถูกยึด)
  • เตรียมอุปกรณ์บางอย่าง เช่น แป้งโด หรือกระดาษที่ฉีกได้ ให้เด็กทำเพื่อระบายอารมณ์เวลาหงุดหงิด

8. เรียนรู้ยอมรับความผิดพลาด

  • เมื่อเด็กทำผิดพลาด กระตุ้นให้ลองพยายามอีกครั้ง หรือพยายามทำให้ดีกว่าเดิมในครั้งหน้า ไม่พูดดูถูกเด็ก
  • เมื่อเด็กทำสิ่งผิดพลาด สอนให้รู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น
  • โอบกอด และให้กำลังใจ ให้ความเอาใจใส่ เมื่อเด็กใช้พยายามอย่างมากแล้วประสบผลสำเร็จ
  • พูดถึงกิจกรรมความสำเร็จต่างๆ ที่ผ่านมาบ่อยๆ
  • ฟังเด็กอย่างตั้งใจ และปลอบโยนหากเด็กต้องการ

9. พัฒนาความมั่นใจในตนเอง (Confidence) และความภาคภูมิใจในตนเอง ( Self-respect )

  •  ความสำเร็จ และการเรียนรู้ ที่เกิดจากความผิดพลาด และความพยายาม จะพัฒนาความมั่นใจในตนเองให้เด็ก
  • ยอมรับในตัวลูก และรู้เด็กว่ากำลังอยู่ขั้นไหนของพัฒนาการทางสังคม
  • ให้กิจกรรมที่เพิ่มความยาก และท้าทายให้เด็กขยายขอบเขตความสามารถของตนเอง
  • ให้ประสบการณ์ที่น่าสนใจ และใหม่ เพื่อทำให้เด็กอยากเรียนรู้มากขึ้น
  • ถามคำถามเกี่ยวกับผลงานของเด็กอย่างสนใจ จะช่วยสร้างความภาคภูมิใจในสิ่งที่เด็กประสบความสำเร็จ
  • แสดงความรัก และให้การสนับสนุนแก่เด็ก
  • ทำให้เด็กรู้ว่าเราเชื่อมันในตัวพวกเค้าอย่างเต็มที่

10. พัฒนาการเคารพบุคคลผู้อื่น และการมีอารมณ์ร่วม (Empathy)

  • พูดกับเด็กเกี่ยวกับการแสดงความเคารพต่อความรู้สึกของสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว  และคนที่เด็กรู้จัก
  • แสดงความเคารพในทรัพย์สินของผู้อื่น และทำให้เด็กรู้ว่าเราคาดหวังให้เค้าเคารพสิ่งที่เป็นของคนอื่นเช่นกัน  เด็กจะเรียนรู้จากตัวอย่างที่เราทำ

 

เรียบเรียงโดย ครูต้น (นักกิจกรรมบำบัด) Mind Brain & Body 9 ธันวาคม 2560

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view