http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม957,509
เปิดเพจ1,167,593

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

Credit picture : http://kidpt.com/2011/10/25/physical-therapy-affect-social-skills/ 

When Sensory Integration Disorder Interferes with Your Child's Social Skills

บทสัมภาษณ์จาก Lindey Biel and Nancy Peske

ผู้เขียนหนังสือ Raising a Sensory Smart Child  

ภาวะบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง มีผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะสังคมของเด็กได้หรือไม่?

กิจกรรมทางสังคมที่สนุกสนานสำหรับเด็กทั่วไปอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้รู้สึกอึดอัด เช่น  เด็กที่มีปัญหาในการปรับระดับข้อมูลความรู้สึก (Sensory Over-responsive) อาจไม่สามารถทนกับเสียงที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวได้ บางคนอาจต้องการหลบไปอยู่คนเดียว เพราะไม่อยากให้ใครมาสัมผัสร่างกาย หรือเข้าใกล้ บางคนอาจมีปัญหากับผิวสัมผัสเสื้อผ้าที่เด็กคนอื่นรู้สึกธรรมดา มีปัญหากับรองถุงเท้า รองเท้า หรือกับการใส่กางเกงขายาว บางคนอาจมีภาวะวิตกกังวลเมื่อต้องรับทานอาหารร่วมกับคนอื่น หรือในกลุ่มเด็กที่แสวงหาความรู้สึกที่มากเกินไป (Sensory Seeking) ก็อาจมีปัญหาในการพัฒนาทักษะทางสังคมได้เหมือนกัน เพราะเด็กไม่สามารถควบคุมตนเองไม่ให้สัมผัสหรือกระโดด กระแทกใส่เด็กคนอื่นขณะเล่นด้วยกัน หรือทำตามกฎกติกาทางสังคมร่วมกับเด็กคนอื่นได้

ปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองมีผลต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็กได้อย่างไร?

เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการประมวลผลระบบประสาทความรู้สึกที่อยู่ในภาวะวิตกกังวล อาจแสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะของการขาดวุฒิภาวะ แกล้งทำเป็นตัวตลก หรือทำตัวประหลาด  ในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาในการเปลี่ยนแปลงสถานที่ หรือกิจกรรม (transition) เด็กที่มีความยากลำบากในการปรับระดับความตื่นตัว (such as alert to calm, sleeping to fully awake) ก็เป็นสัญญาณของปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึก เด็กอาจแสดงพฤติกรรมโกรธโมโห ต่อต้านท้าทาย หรือหลบเลี่ยงหลีกหนี ทำตัวมีปัญหา หรือมีทัศนะคติไม่ดีกับสิ่งต่างๆ  ส่วนเด็กมีปัญหาในกลุ่มแสวงหาความรู้สึกที่มากเกินไป (Sensory Seeking) ที่ชอบการสัมผัสสิ่งต่างๆ ตลอดเวลา หรือเด็กที่มีปัญหาในการตระหนักถึงร่างกายตนเอง (body awareness) อาจเรียนรู้ที่จะต่อต้าน หรือแสดงพฤติกรรมชอบชน กระแทกคนอื่นขณะเล่นหรือเรียน

ผู้ปกครองสามารถช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการพัฒนาทักษะสังคมได้อย่างไร?

สิ่งสำคัญอย่างแรก คือควรตระหนักว่าสมองเรามีหน้าที่จัดการกับข้อมูลความรู้สึกที่รับเข้ามา  โดยที่ส่วนใหญ่เราไม่รับรู้ถึงมัน และเป็นสิ่งที่ส่งผลต่ออารมณ์ และพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งเราควรให้ความสำคัญกับการประมวลผลความรู้สึกของเด็กแต่ละคน โดยสอนให้เด็กสามารถจัดการกับสิ่งเหล่านั้นในวิธีที่ปลอดภัย  และสังคมยอมรับได้ เช่น ถ้าอยากปาหินลงแม่น้ำเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่การปาของใส่เพื่อนนั้นทำไม่ได้

สิ่งที่สำคัญต่อมาคือ สอนให้เด็กรู้ว่าตนเองมีความต้องการบางสิ่งที่แตกต่างไปจากเด็กคนอื่นนั้นเป็นสิ่งธรรมดา เพียงแต่พวกเขาต้องเรียนรู้วิธีจัดการกับข้อมูลความรู้สึกที่เฉพาะของตนเองให้อยู่ในกรอบกฎเกณฑ์ของการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีทางสังคม ให้พูดคุยกับเด็กของเราที่มีปัญหาในการประมวลผลความรู้สึก เช่น ถ้าตอนอายุ 4 ขวบ เขาต้องการกระตุ้นความรู้สึกบริเวณปาก โดยการเคี้ยวผ้าอ้อมก่อนการทานอาหาร เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ถ้าอายุ 8 ขวบแล้วสามารถทำได้เฉพาะตอนอยู่บ้าน แต่ถ้าทำขณะอยู่บ้านคนอื่น หรือที่ร้านอาหารนั้นไม่ได้ และสอนให้เด็กรู้ว่าผลที่จะเกิดขึ้นในทางสังคมที่ตามมาถ้าเด็กทำจะเป็นอย่างไร เช่น เพื่อนอาจจะหัวเราะเยาะ หรือไม่อยากอยู่ใกล้ เป็นต้น จะช่วยให้เด็กหาทางเลือกในการตอบสนองความรู้สึกที่เฉพาะของตนเองในหนทางที่สังคมยอมรับได้

อะไรที่ผู้ปกครองสามารถสอนลูกที่มีปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกให้ผสมผสานสิ่งที่ตนเองต้องการในสังคมได้?

สอนให้เด็กเคารพในสิ่งที่ตนเองต้องการและในสิ่งที่คนอื่นต้องการ จูงใจให้เขาสร้างสรรค์วิธีการทำให้ตนเองสบายใจโดยที่ไม่สร้างความลำบากใจให้คนอื่น ให้เด็กพูดบอกกับเรา ถึงทางเลือกที่ตนเองสามารถทำได้ เช่น บอกคุณย่าว่าทำไมเขาถึงเลือกที่จะใส่กางเกงขายาวสีดำกับเสื้อเชิ้ตในวันหยุดรวมญาติ แทนที่จะใส่กางเกงสีกากีที่มีรอยตะเข็บ จะช่วยให้เด็กรู้สึกดีกับตัวเองโดยชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ดีในตัวเอง เช่น อธิบายว่าปัญหาเกี่ยวกับการประมวลผลความรู้สึกเป็นแค่ปัญหาทางสรีรวิทยาที่เขาจะต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับมัน เด็กที่มีการรับรู้ตัวเองสูงจะสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ไม่เข้าใจความจำเพาะของตนเองได้ดีกว่า

ผู้ปกครองจะช่วยเด็กที่มีปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกในสถานการณ์ทางสังคมได้อย่างไร?

การวางแผนเป็นสิ่งที่สำคัญ ให้มั่นใจว่าครอบครัวเราจะก้าวไปด้วยกัน พูดกับลูกเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองไม่ชอบเวลาอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ อะไรคือความยากลำบากที่อยู่ภายใน เป็นเสียงที่ดังมากเกินไปหรือเปล่า? ลูกจะดีขึ้นหรือเปล่าถ้าใส่ที่ปิดหู หรือขอเวลานอกไปอยู่คนเดียวสักพัก หรือถ้ามีปัญหาในการอยู่กลางแจ้ง สิ่งของพวกแว่นกันแดด เสื้อกันลม หรือโลชั่นกันยุงจะช่วยได้หรือไม่? ขณะที่อยู่ด้วยกันให้บันทึกสิ่งที่ทำให้เด็กมีความยากลำบากแล้วคิดหาทางเลือกเผื่อไว้เพื่อให้เด็กสามารถจัดการกับมันได้

ใช้ความรู้เกี่ยวกับระบบความรู้สึกชี้แนะให้ลูกได้รับกิจกรรมที่เป็นอาหารความรู้สึกสมอง (Sensory diet activity) ที่ช่วยให้เด็กรู้สึกสงบ และมีสมาธิ เช่น เล่นแข่งเดินช้า เดินย่ำเท้าอยู่กับที่ ผลักเก้าอี้ ผลักกำแพง หรือช่วยถือของที่มีน้ำหนัก จัดเตรียมกิจกรรมที่เป็นการกระตุ้นข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ (proprioceptive input) จะช่วยให้เด็กรู้สึกสงบสบาย อาจอนุญาตให้เด็กใส่ชุดที่ชอบ ใช้ที่ปิดหู ถือของชิ้นเล็กในมือ หรืออื่นๆ ที่จะช่วยให้เด็กรู้สึกสงบ และมีสมาธิสามารถจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ได้  


Lindsey Biel and Nancy Peske's book, Raising a Sensory Smart Child has huge sections on practical solutions for everyday social problems as well as sensory diet activities that will help your child with sensory issues.

แปลและเรียบเรียงบทความจากwww.comeunity.com/disability/sensory_integration/socialsensoryintegration.html

โดย Mind Brain & Body พฤศจิกายน 2555

 


view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view