http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม957,465
เปิดเพจ1,167,540

ครูการศึกษาพิเศษ (Special Education) คือใคร?

ครูการศึกษาพิเศษ (Special Education) คือใคร?

ครูการศึกษาพิเศษ คือใคร?

            ครูการศึกษาพิเศษ Special Educational Needs (SEN) คือครูเฉพาะทาง ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการศึกษาพิเศษ และได้รับใบประกอบวิชาชีพครู ซึ่งคนทั่วไปอาจคิดว่าการทำงานของครูการศึกษาพิเศษนั้นเหมือนกับครูทั่วไป หรือเป็นครูสอนพิเศษ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก ในทางตรงข้ามกันครูการศึกษาพิเศษเป็นครูที่มีแนวทางเป็นของตนเอง เพื่อความต้องการเฉพาะของเด็กแต่ละคน


ครูการศึกษาพิเศษทำอะไร?

       ครูการศึกษาพิเศษ Special Educational Needs (SEN) คือ ครูเฉพาะทาง การทำงานของครูการศึกษาพิเศษนั้น จะมีวางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการแก้ไขปัญหาด้าน 3 ทักษะได้แก่ทักษะการอ่าน (Dyslexia) ทักษะการเขียน (Dysgraphia) และทักษะคณิตศาสตร์ (Dyscalculia) ซึ่งเนื้อหาที่ใช้ในการสอนจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานรวมทั้งปรับวิธีการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลายแต่มีคำนึงถึงความต้องการเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับความแตกต่างของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ

            ครูการศึกษาพิเศษจะจัดการเรียนการสอนได้ทั้งในระดับปฐมวัย  อนุบาล   ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา     โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนและพัฒนาศักยภาพของเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคน เพื่อให้เข้าถึงศักยภาพทางการศึกษาได้อย่างเต็มที่ และสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างเต็มศักยภาพสูงสุด  อีกทั้งครูการศึกษาพิเศษนั้นต้องมีความเข้าใจ มีความอดทน ทุ่มเทให้กับนักเรียนแต่ละคนรวมถึงต้องมีเครื่องมือ เทคนิคการสอน สื่อการสอน รวมถึงคำแนะนำที่จำเป็นเพื่อช่วยให้พวกขาสามารถทำสิ่งต่างๆได้สำเร็จ


งานของครูการศึกพิเศษมักมีความท้าทายและอาจเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ดังนี้

            -ประเมินนักเรียนในด้านทักษะต่างๆ เพื่อตรวจสอบความต้องการของแต่ละบุคคล และเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

            - ปรับบทเรียน เนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน

            - บริการพัฒนาโปรแกรมการศึกษารายบุคคล (Individual Education Program: IEP) สำหรับนักเรียนทุกคน

            - วางแผนจัดระเบียบ และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะความสามารถของนักเรียนแต่ละคน

            - จัดการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคการสอน สื่อการสอน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ

            - จัดการเรียนการสอนแบบ 1 ต่อ 1 หรือเป็นแบบกลุ่มเล็ก

            - ประเมินการพัฒนาของนักเรียน โดยใช้ข้อสอบเพื่อติดตามความคืบหน้า

            - พูดคุยเกี่ยวกับความคืบหน้าในการจัดการเรียนการสอน พฤติกรรมภายในห้องเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจอย่างต่อเนื่องในทุกๆชั่วโมง พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศักยภาพได้อย่างตรงจุด

ความแตกต่างระหว่างครูในชั้นเรียนปกติกับครูการศึกษาพิเศษ


ครูในชั้นเรียนปกติ

ครูการศึกษาพิเศษ

1. ครูในชั้นเรียนปกติ มีคุณวุฒิทางการศึกษาในวิชาทั่วไป เช่น ภาษาไทย สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะเน้นทักษะวิชาการสอนจากเนื้อหาในบทเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนอาจจะไม่เหมาะกับเด็กที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้บางกลุ่ม เช่น นักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์หรือการอ่านจับใจความ ส่งผลให้เด็กมีผลการเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์

1. ครูการศึกษาพิเศษ ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษาพิเศษ หรือเป็นครูที่ผ่านการอบรมด้านการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยเฉพาะ  ซึ่งครูการศึกษาพิเศษเป็นครูที่เน้นการแก้ไขปัญหาทางด้านการเรียนพื้นฐาน 3 ด้านหลักๆ ได้แก่

-ด้านทักษะการอ่าน (Dyslexia)

-ด้านทักษะการเขียน (Dysgraphia)

-ด้านทักษะคณิตศาสตร์ (Dyscalculia)

2. สัดส่วนของห้องเรียนในชั้นเรียนปกติจะมีนักเรียน 30 – 40คน ซึ่งจะทำให้มีการดูแลได้ไม่ทั่วถึง และไม่ทราบปัญหาทางด้านพฤติกรรมและการเรียนของเด็กได้อย่างละเอียด

2. สัดส่วนของนักเรียนที่ครูต้องรับผิดชอบนั้นต่ำกว่าห้องเรียนปกติ ครูจึงสามารถดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง รู้จักเด็กแต่ละคนว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อนในด้านใด ควรได้รับการแก้ไขและพัฒนาในจุดใด และทราบปัญหาทางด้านพฤติกรรมและการเรียนของเด็กได้อย่างละเอียด

3. เนื่องจากในชั้นเรียนปกติมีจำนวนนักเรียนมาก ทำให้เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนมีความกดดันและนำตนเองไปเปรียบเทียบกับเพื่อนในชั้นเรียนซึ่งอาจทำให้เด็กเกิดความเครียด ส่งผลกระทบต่อการเรียนอนาคต

3. เด็กจะไม่กดดันตนเอง มีความมั่นใจมากขึ้น ไม่เกิดการเปรียบเทียบจากเพื่อนในชั้นเรียนเดียวกัน เนื่องจากเป็นการสอนแบบ 1 ต่อ 1 ระหว่างครูการศึกษาพิเศษกับนักเรียน

4. ครูในชั้นเรียนปกติจะจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางตามระดับชั้น ซึ่งไม่ได้รับการปรับเนื้อหาในบทเรียนให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของนักเรียน ทำให้   ไม่มีความเข้าใจในบทเรียนและส่งผลต่อผลการเรียน

4. ปรับบทเรียน ใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้เนื้อหาในบทเรียนได้อย่างเต็มที่

5. จัดทำใบความรู้ในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งเด็กที่มีปัญหาการเรียนอาจจะมีปัญหาในความเข้าใจและการทำใบงาน

5. จัดทำใบความรู้ ใบงานและสื่อการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของเด็กแต่ละคน

























เอกสารอ้างอิง

1.รายงานวิจัย. ๒๕๕๘. มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :

 http://special.obec.go.th/Document/Detail?type=2&did=6. สืบค้นวันที่ 28 มิถภุนายน 2558.

2. Special educational needs teacher.

www.prospects.ac.uk/special_educational_needs_teacher_job_description.htm.(ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 28 มิถุนายน 2558.

3. What is a Special Education Teacher?. https://www.sokanu.com/careers/special-education-teacher/.(ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 28 มิถุนายน 2558.

 

 

 

 

 

 

           

 

 

 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view