http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม957,507
เปิดเพจ1,167,591

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

เป็นธรรมดาที่เด็กเล็กจะมีความวิตกตกกังวลต่อการแยกจาก (separation anxiety) เมื่อเจอกับสถานการณ์ที่ต้องแยกจากกัน  ซึ่งความวิตกตกกังวลต่อการแยกจาก (separation anxiety) นี้เป็นหนึ่งในลำดับขั้นของพัฒนาการปกติของเด็ก โดยเด็กจะเข้าใจและมีวิธีจัดการได้เองโดยธรรมชาติ  และจะหายไปเมื่อเด็กเติบโตขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในเด็กที่เกิดความวิตกกังวลมากเกินไปหรือเมื่อโตขึ้นแล้วยังไม่หายไป และส่งผลกระทบต่อ การเข้าโรงเรียน และการทำกิจกรรมอื่นๆ อาจเนื่องมาจากปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก หรือ separation anxiety disorder ซึ่งจำเป็นต้องพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการช่วยเหลือต่อไป

ความวิตกตกกังวลต่อการแยกจาก (separation anxiety) สังเกตอย่างไรว่าอยู่ในช่วงปกติ หรือผิดปกติ ???

Separation anxiety เกิดขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็กทารกหลังคลอดออกจากครรภ์มารดา จนถึงอายุ 4 ปี ซึ่งเด็กจะร้องไห้ โมโหหรืออาละวาด โดยระดับความรุนแรงและระยะเวลาของความวิตกกังวลจะมีความแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละช่วงวัย เมื่อเด็กโตขึ้นพ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กมีความกังวลน้อยลงได้โดยขณะอยู่กับเด็กควรให้ความรู้สึกที่มั่นคงปลอดภัย อ่อนโยน แต่หนักแน่นในการตั้งขีดจำกัดหรือการตั้งข้อตกลงต่างๆ (by gently but firmly setting limits)

ในเด็กบางคนที่ผู้ปกครองได้พยายามลดความวิตกกังวลแล้ว แต่เด็กก็ยังมีความวิตกกังวลอยู่ต่อเนื่องไปจนถึงเข้าชั้นประถม และกระทบต่อกิจกรรมการเรียนต่างๆ หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเด็กอาจมีปัญหาภาวะวิตกกังวลจากการแยกจาก (separation anxiety disorder)

Easing normal separation anxiety in children: การลดความวิตกกังวลต่อการแยกจากในเด็กทั่วไป

  • ฝึกการแยกห่าง (Practice separation) แยกเด็กออกจากผู้ดูแลในระยะเวลาสั้นๆ และไม่อยู่ห่างเด็กมากจนเกินไป
  • มีตารางฝึกแยกห่างจากเด็ก หลังจากนอนกลางวันหรือหลังทานอาหาร (Schedule separation after naps or feedings) เนื่องจากในช่วงที่เด็กเหนื่อย หรือหิวจะมีภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจากมาก ควรฝึกแยกห่างหลังจากช่วงนั้น
  • ฝึกให้เด็กเรียนรู้การ “บ๊ายบาย” บอกลา (Develop a “goodbye” ritual)  สอนเด็กให้ บ๊ายบาย หรือ จูบส่ง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทำให้เด็กเรียนรู้ถึงการจากลา
  • ฝึกให้เด็กเรียนรู้ความคุ้นเคย และการเปลี่ยนแปลง (Keep familiar surroundings when possible and make new surrounding familiar) เช่นให้พี่เลี้ยงเข้ามาทำความคุ้นเคยกับเด็กที่บ้าน หรือเมื่อต้องออกจากบ้านก็ให้เด็กถือของที่ชอบ หรือที่คุ้ยเคยติดมือออกไปด้วย
  • ให้เด็กทำความรู้จักคุ้นเคยกับพี่เลี้ยงคนใดคนหนึ่ง (Have a consistent primary caregiver) ควรเลือกพี่เลี้ยงคนเดิมประจำ ไม่ควรเปลี่ยนบ่อย
  • เวลาที่ต้องแยกจากไม่ควรทำให้เอิกเกริกเป็นพิธี (Leave without fanfare) บอกกับเด็กเพียงว่าจะต้องออกไปสักพักแล้วจะกลับมา ไม่ควรบอกลายืดเยื้อ
  • อย่าให้เด็กดูโทรทัศน์เรื่องราวที่น่ากลัว (Minimize scary television) เนื่องจากจะทำให้คิดมาก และวิตกกังวล
  • สร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็ก (Try not to give in) ตั้งเงื่อนไข ข้อตกลงให้ชัดเจนก่อนการแยกจากจะช่วยให้เด็กปรับตัวได้ง่ายขึ้น

Symptoms of separation anxiety disorder in children: สัญญาณปัญหาผิดปกติของภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก

ปัญหาความผิดปกติของภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจากนั้นสังเกตได้จากความรุนแรงด้านอารมณ์ของเด็ก เมื่อต้องแยกจากผู้ดูแล แต่อย่างไรก็ตาม ค่อนข้างแยกได้ยากระหว่างความวิตกกังวลธรรมดาที่เกิดขึ้นตามวัย หรือความวิตกกังวลที่ผิดปกติจนเป็นปัญหา

ซึ่งความแตกต่างของความปกติ และความผิดปกตินั้นดูได้จากการแสดงออกถึงความกลัวอย่างรุนแรง เมื่อต้องแยกจากผู้ปกครอง เด็กอาจพูดบ่นว่าตนเองป่วย หรือไม่สบาย ไม่ยอมเล่นกับเพื่อน หรือไม่ร่วมมือในห้องเรียน หากพบว่าปัญหาเหล่านี้มีความรุนแรงมาก ควรคำนึงว่าเด็กอาจมีความผิดปกติของภาวะวิตกกังวลต่อจากการแยกจาก

Common symptoms of separation anxiety disorder (worries and fears) สัญญาณที่บอกว่าเด็กมีความผิดปกติของภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจากในด้านความกลัว และวิตกกังวล

  • เด็กกลัวว่าจะเกิดเรื่องร้ายแรงกับคนที่ตนเองรักที่สุด (Fear that something terrible will happen to a loved one) โดยเด็กวิตกกังวลว่าถ้าคนที่ตนเองรักที่สุดไม่อยู่ด้วยนั้นอาจเป็นเพราะเขาป่วย เกิดเรื่องร้าย หรือได้รับบาดเจ็บ
  • เด็กกลัวว่าอาจเกิดเรื่องไม่คาดฝันทำให้ไม่ได้พบกันอีกเลย (Worry that an unpredicted event will lead to permanent separation) เช่น เด็กกลัวว่าแม่อาจถูกลักพาตัวไปหรือหายไป
  • ฝันร้ายถึงการแยกจาก (Nightmares about separation) เป็นประจำ

 

Common symptoms of separation anxiety disorder (refuse and sickness) สัญญาณที่บอกว่าเด็กมีความผิดปกติของภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจากในด้านการปฏิเสธ และพูดถึงความเจ็บป่วย

  • เด็กปฏิเสธการไปโรงเรียน (Refuse to go to school) เด็กเกิดความกลัวที่ไม่มีเหตุผลในการไปโรงเรียน อยากอยู่แต่บ้าน
  • งอแง หรือถ่วงเวลา ไม่ยอมเข้านอน (Display reluctance to go to sleep) เด็กอาจมีภาวะนอนไม่หลับ (insomniacs) เนื่องจากกลัวการอยู่คนเดียว หรือกลัวการฝันร้ายถึงการแยกจาก
  • ไม่ชอบการไปนอน เพราะจะวิตกกังวลว่าจะฝันร้ายถึงการพลัดพราก  และทำให้เด็กเป็นโรคนอนไม่หลับ
  • มักบ่นว่าป่วย เช่นปวดหัว หรือ ปวดท้อง (Complain of physical sickness like a headache or stomachache) เมื่อถึงเวลาที่ต้องแยกจาก
  • เกาะติดผู้ดูแล (Cling to the caregiver) เด็กเกาะแขนเกาะขาผู้ดูแลตลอดไม่ยอมให้ไปไหน

Common cause of separation anxiety disorder in children: สาเหตุที่พบบ่อยของความผิดปกติในเด็กที่มีภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก  

ความวิตกกังวลต่อการแยกจากนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากเด็กรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย เราสามารถช่วยเด็กได้โดยการหาสาเหตุว่าอะไรทำให้เด็กรู้สึกเช่นนั้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่อาจมาจาก

  • มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก (Change in environment) เช่น การเปลี่ยนบ้าน หรือโรงเรียน
  • ความเครียด (Stress) ที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโรงเรียน สูญเสียบุคคล หรือสัตว์อันเป็นที่รัก
  • การได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่มากเกินไป (Over-protective parent) ในบางกรณีภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจากนั้นมีสาเหตุมาจากผู้ปกครองที่มีภาวะวิตกกังวลสูงจนเกินไป ซึ่งส่งผลถึงเด็กด้วย

Separation anxiety or trauma: เด็กมีปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก หรือว่าเกิดจากบาดแผลทางใจ หรือการได้รับผลกระทบทางจิตใจ

ถ้าหากเด็กมีภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจากเกิดขึ้นทุกคืน อาจมีสาเหตุมาจากบาดแผลทางใจที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์บางอย่าง ซึ่งแม้ว่าอาการที่แสดงออกของทั้งสองสาเหตุนั้นจะคล้ายกัน แต่วิธีการรักษานั้นแตกต่างกัน จึงควรพิจารณาสาเหตุให้ดี

Helping children with separation anxiety disorder: การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก

วิธีการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจากได้โดยทำให้เด็กรู้สึกมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้าน หรือที่โรงเรียนให้เด็กรู้สึกสบายใจ จะช่วยทำให้เด็กอาการดีขึ้น

 

Tips for dealing with separation anxiety in children: เคล็ดลับในการจัดการกับปัญหาวิตกกังวลต่อการแยกจาก

  • ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Educate yourself about separation anxiety disorder) จะสามารถช่วยให้รู้วิธีวิเคราะห์ปัญหาของเด็กได้
  • รับฟังอารมณ์ความรู้สึกของเด็ก (Listen to and respect your children’s feelings) จะสามารถช่วยเยียวยาความรู้สึกของเด็กได้
  • พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น (Talk about the issue) ก็สามารถช่วยเยียวยาความรู้สึกเด็กได้ โดยเฉพาะพูดเกี่ยวกับการแยกจากครั้งล่าสุดที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร
  • วางแผนล่วงหน้าสำหรับช่วงเวลาแยกจาก (anticipate separation difficulty) เตรียมความพร้อมของผู้ปกครองก่อนที่เวลาแห่งการแยกจากจะมาถึง เช่น ไปโรงเรียน หรือไปเล่นบ้านเพื่อน ถ้าหากเด็กแยกจากผู้ปกครองคนใดง่ายกว่าก็ควรให้คนนั้นเป็นผู้ไปส่ง

Tips for helping children with separation anxiety feel safe and secure: เคล็ดลับในการจัดการความวิตกกังวลต่อการแยกจาก เพื่อทำให้เด็กรู้สึกมั่นคง และปลอดภัย

  • จัดตารางเวลาของแต่ละวันให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด (Provide a consistent pattern for the day) เพื่อทำให้เด็กคาดการล่วงหน้าถึงสิ่งต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ แต่หากจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ควรบอกให้เด็กรู้ล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง
  • ตั้งกฎ หรือขอบเขตเงื่อนไขให้ชัดเจน (Set limits) อธิบายให้เด็กเข้าใจว่าเรารู้ถึงความรู้สึกของเด็กที่เกิดขึ้น แต่กฎก็ต้องเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  • ให้เด็กมีโอกาสเลือก (Offer choices) เด็กอาจรู้สึกสบายใจขึ้นหากได้เป็นคนเลือกกิจกรรมต่างๆ ของตนเอง หรือเลือกได้ว่าอยากไปพบใคร

Tips for encouraging healthy separation and independence in children: เคล็ดลับในการส่งเสริมให้เด็กแยกจากได้ด้วยตนเอง

  • พ่อแม่ควรแสดงท่าทีที่สงบ (Keep calm during separation) ระหว่างการแยกจาก จะทำให้เด็กไม่ตื่นกลัว
  • ส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ (Support the child’s participation in activities)
  • หลังจากหยุด หรือขาดช่วงไปโรงเรียน ควรให้เด็กกลับไปโรงเรียนให้เร็วที่สุด (Help a child who has absent from school return as quickly as possible) แม้ว่าช่วงแรกอาจต้องรับเด็กกลับก่อนเวลา ก็เป็นการทำให้เด็กเรียนรู้การผ่านช่วงเวลาการแยกจากไปได้
  • ชม หรือให้รางวัลเมื่อเด็กแสดงความพยายามต่างๆ (Praise your child’s efforts) ให้รางวัลเมื่อเด็กแสดงความพยายาม เช่น เข้านอนเองโดยไม่งอแง หรือโรงเรียนเขียนชมในรายงาน

 

Easing separation anxiety in children (Tips for school): การลดความวิตกกังวลต่อการแยกจากสำหรับโรงเรียน

  • อนุญาตให้ผู้ปกครองมารับเด็กกลับก่อนเวลาได้
  • อนุญาตให้เด็กมาโรงเรียนสายได้ในช่วงแรกหรือจัดให้มีห้องเล็กๆสำหรับให้ผู้ปกครองและเด็กพูดตกลงกันก่อนแยกจาก
  • หาสถานที่ในโรงเรียนที่เด็กรู้สึกมั่นคงปลอดภัยเพื่อให้เด็กได้ไปคลายความเครียด และลดความวิตกกังวลของตนเองลง
  • หากเด็กเกิดความเครียด หรือวิตกกังวลอาจอนุญาตให้เด็กได้โทรกลับบ้านสัก 1-2 นาที จะช่วยลดความเครียดของเด็กได้
  • อาจให้พ่อแม่เขียนโน้ตสั้นๆ ติดไว้ที่กล่องข้าว กระเป๋าเสื้อ หรือตู้เก็บของเด็ก เช่น “แม่รักลูกนะ”
  • ให้ความช่วยเหลือแก่เด็กในระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
  • ให้คำชมเป็นรางวัลในการพยายามทำดีของเด็กแม้ว่าจะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม

Combat separation anxiety in children by relieving your own stress: เริ่มต้นแก้ไขปัญหาวิตกกังวลจากการแยกจากโดยลดความเครียดของตนเอง

เด็กที่พ่อแม่มีความวิตกกังวล หรือความเครียด มีแนวโน้มที่จะทำให้เด็กจะมีปัญหาวิตกกังวลต่อการแยกจาก ดังนั้นวิธีที่จะช่วยเด็กก็คือลดความเครียดของตัวเองลง โดยมีกลวิธีแนะนำดังนี้

  • พูดระบายความรู้สึกกับตนเอง (Talk about your feelings)
  • ออกกำลังกาย
  • ใส่ใจสุขภาพและการกิน
  • ฝึกฝนเทคนิคการผ่อนคลาย (relaxation techniques) เช่น โยคะ การหายใจลึกๆ หรือนั่งสมาธิ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 
  • ทำตนเองให้รู้สึกสนุกสนานอยู่บ่อยๆ หรือมีอารมณ์ขัน

Red flags for anxiety separation disorder in children: สัญญาณอันตรายของปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก

  • พิจารณาช่วงอายุของเด็ก กับพฤติกรรมติดแม่ อาละวาด และการงอแงเหมือนเด็ก
  • การพูดบ่นว่าตนเองป่วยบ่อยๆ
  • การไม่สนใจเพื่อน ครอบครัว หรือคนรอบข้าง
  • การปฏิเสธการไปโรงเรียนเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ติดต่อกัน
  • เด็กมีความกังวลใจอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับความกลัว และความรู้สึกผิด
  • เด็กมีความกลัวมากหากต้องออกจากบ้าน

 

ภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety Disorder) หรือโรควิตกกังวลในเด็ก (Anxiety Disorder) หรือปัญหาไม่พูดบางสถานการณ์ (Selective Mutism) หรือปัญหากังวลต่อการเข้าสังคม (Social Anxiety) หรือปัญหาความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลง (Transition Anxiety) นั้นอาจมีความคาบเกี่ยวกับปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีลักษณะตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางความรู้สึกที่มากเกินไป (Sensory Over-Responsive) ซึ่งเด็กอาจแสดงพฤติกรรม “ต่อสู้ หรือ ถอยหนี” (Fight or Flight behavior) ที่เกิดจากสมองไม่สามารถจัดการกับข้อมูลประสาทความรู้สึกได้ (Sensory Overload) โดยเด็กอาจแสดงพฤติกรรมหลีกหนีการสัมผัส (Tactile defensive) มีปัญหากับเนื้อผ้าที่สวมใส่ อาจมีปัญหาการกิน เดินเขย่งปลายเท้า หงุดหงิดง่าย หรือยึดติด ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง (Perfectionist) 

ดังนั้นเมื่อสงสัยว่าเด็กมีปัญหาวิตกกังวลจากการแยกจาก หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล จนส่งผลต่อการทำกิจกรรม หรือการเรียนรู้ตามวัยของเด็ก ควรปรึกษาจิตแพทย์เด็ก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก หรือนักกิจกรรมบำบัดที่มีความรู้ทางด้านการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing/Integration)  

บรรณานุกรม

Separation Anxiety in children_http://www.helpguide.org/articles/anxiety/separation-anxiety-in-children.htm

เรียบเรียงโดย Mind Brain & Body 18 มิถุนายน 58

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view