http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม957,501
เปิดเพจ1,167,584

บทบาทของครูประกบเด็กในโรงเรียน

บทบาทของครูประกบเด็กในโรงเรียน

บทบาทของครูประกบเด็กในโรงเรียน

Posted on May 2, 2014 in Advice Column | 0 comments

By Monica Mejia, MS


ถ้าพูดถึงงานครูประกบเด็กในโรงเรียน คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นงานที่ง่ายเพียงแค่คอยดูแลเด็กให้แน่ใจว่าไม่แสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาที่โรงเรียน แต่อย่างไรก็ตาม การเป็นครูประกบเด็กนั้นมีความหมายมากกว่านั้น ในขณะที่ต้องช่วยให้เด็กไม่หันเหความสนใจ หรือมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์แล้ว ยังต้องช่วยสอนให้เด็กสามารถทำงานให้เสร็จด้วยตัวเองอีกด้วย (independent) ผู้ปกครองและครูเด็กออทิสติกมักคาดหวังว่าครูประกบที่ดีคือคนที่สามารถทำให้เด็กอยู่ได้ด้วยตนเองโดยที่ไม่ต้องมีครูประกบอีกต่อไป “The best [shadow] is the one who does herself out of a job!”

 

เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในข้อจำกัดและจุดแข็งของเด็ก จึงจำเป็นที่ต้องมีการประเมินพฤติกรรมเด็กก่อนที่การประกบจะเริ่มขึ้น การประเมินจะช่วยให้สามารถวางแผนและตั้งเป้าหมายให้แก่เด็กได้ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนคอยช่วยเหลือ ครูประกบควรต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อดูความก้าวหน้าของเด็กด้วย

โดยทั่วไปแล้วเป้าหมายของการเป็นครูประกบคือช่วยให้เด็กเรียนรู้การสื่อสาร พัฒนาทักษะทางสังคม และการเรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายครูประกบต้องมีความอดทน และรู้วิธีในการให้คำสั่งที่มีขั้นตอนกับเด็ก หรืออาจมีภาพแนะ (visual cues) เช่นภาพ หรือสัญลักษณ์ ช่วยให้ง่ายต่อความเข้าใจ สิ่งหนึ่งที่สำคัญอีกอย่างก็คือ การรอคอยอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้คำตอบจากเด็ก ช่วยตอบคำถามเฉพาะเวลาที่จำเป็น  เพื่อให้เด็กเรียนรู้ที่จะอยู่ได้ด้วยตัวเองมากที่สุด ไม่ใช่อยู่ได้โดยมีคนคอยช่วย (help the child become independent, not prompt dependent)

อีกบทบาทที่สำคัญของครูประกบคือช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะสังคม โดยต้องตระหนักถึงอารมณ์ของเด็ก บางครั้งเด็กอาจจะรู้สึกไม่สบายใจในการอยู่ในกลุ่ม ซึ่งไม่ควรผลักเด็กเข้าไปอยู่ในกลุ่มใหญ่ อาจเริ่มจากกลุ่มเล็กก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนสมาชิกในกลุ่ม และต้องมีเวลาให้เด็กได้อยู่เป็นส่วนตัวบ้าง สอนให้เด็กรู้ว่าอะไรควรไม่ควร เช่น การรอคอย การแลกเปลี่ยน ไม่พูดแทรกคนอื่น

ครูประกบอาจต้องช่วยเด็กในการพัฒนาทักษะทางวิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรช่วยเด็กทำงาน ควรช่วยให้เด็กเข้าใจมากว่า ในบางกรณี อาจต้องหารูปผลงานที่สำเร็จแล้วมาให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เด็กเข้าใจและทำงานให้สำเร็จได้ด้วยตัวเองมากที่สุด

 

 

Reference: http://butterflyeffects.com/the-role-of-a-shadow-at-school/

เรียบเรียงโดย Mind Brain & Body 2015

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view