http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม957,471
เปิดเพจ1,167,547

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

Twenty-Two Reasons Why a Child Can’t Sit Still

Photo Credit:  Rolf Sachs Design


  1. เด็กได้รับการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายนั้นเปรียบเสมือนอาหารที่จำเป็นสำหรับสมองเด็กเพื่อให้พวกเขามีความสามารถในการจัดการ, พัฒนาระบบประสาท, พัฒนาสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหว, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, การวางแผนการเคลื่อนไหว และการพัฒนาสุขภาพร่างกาย โดยส่วนใหญ่เราอาศัยอยู่ในสังคมเมืองจนลืมไปแล้วว่าเด็กจะมีสุขภาพและพัฒนาการที่ดีได้พวกเขาต้องมีโอกาสเล่น แนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กไปเล่นที่สนามก่อนเข้าห้องเรียนครึ่งชั่วโมง หรือให้เล่นเกมไล่จับ หรือเตะบอล กรณีที่เด็กไม่ได้เล่นในเวลาพัก หรือครูทำโทษโดยงดไม่ให้เล่น เราควรขอร้องให้ครูเปลี่ยนวิธีการทำโทษ เพราะจะทำให้เด็กยิ่งขัดขืนมากขึ้น และต้องการการเคลื่อนไหวที่มากขึ้นนั่นเอง
  2. เด็กอาจมีปัญหาในการควบคุมการทรงท่า ความตึงตัวของกล้ามเนื้อต่ำ หรือกล้ามเนื้อลำตัวและหลังอ่อนแรง ซึ่งทำให้มีความยากลำบากในการทรงท่านั่ง นั่งไม่สบาย หรือปวดหลัง
  3. เก้าอี้หรือโต๊ะเรียนมีขนาดและความสูงไม่เหมาะสม หลายครั้งจะเห็นได้ว่าโต๊ะเรียน หรือเก้าอี้ของเด็กสูงเกินไป ซึ่งทำให้ควบคุมการทรงท่าลำบาก และขัดขวางประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว
  4. เด็กมีภาวะหลีกหนีการสัมผัส (tactile defensive) และเสื้อผ้ากวนใจ หรือเด็กนั่งใกล้ชิดกับคนอื่นมากเกินไปจน ระบบประสาทสัมผัสสั่งให้มีพฤติกรรมถอยหนี
  5. เด็กนั่งหันหลังให้ทางเดินที่มีคนผ่านไปมา อาจทำให้เด็กเกิดความกังวลใจ โดยจะดีกว่าถ้าเด็กหันหลังให้กำแพง
  6. เด็กที่มีภาวะหลีกหนีเสียง (auditory defensive) เด็กจะควบคุมตัวเองได้ดีในสถานที่เงียบสงบ มีสิ่งรบกวนทางเสียงน้อย แต่เด็กจะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง และอาจแสดงพฤติกรรมวุ่นวาย หรืออาจไม่เข้าใจคำสั่งของครูถ้าตอนนั้นเด็กกำลังพยายามพูดให้เสียงตนเองกลบเกลื่อนเสียงจากสิ่งแวดล้อมอยู่ เด็กที่มีภาวะหลีกหนีเสียงมักแสดงพฤติกรรมวิ่งวนไปรอบๆ ห้อง, ทำเอะอะเสียงดัง, ทำงานไม่เสร็จหรือไม่ฟังกฎระเบียบถ้าห้องเกิดเสียงดัง 
  7. เด็กมีระบบการหายใจที่ไม่ดี การที่เด็กบางคนหายใจแบบตื้นนั้นจะกระตุ้นให้สมองและร่างกายตอบสนองในภาวะต่อสู้หรือถอยหนี (fight or flight) ซึ่งทำให้เด็กยากต่อการนั่งนิ่งๆ เพราะสมองสั่งให้ร่างกายว่ากำลังอยู่ในภาวะฉุกเฉิน
  8. เด็กไม่รู้ว่ามีสิ่งรบกวนทางสายตา ทำให้เด็กหงุดหงิดเวลาที่ต้องมองงานของตนเอง เด็กบางคนมองเห็นภาพเบลอ หรือภาพซ้อน ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะวิตกกังวลของเด็ก หรือแสงสว่างในห้องอาจไม่เหมาะสมกับเด็ก
  9. หูชั้นในของเด็กทำงานได้ไม่ดี เพราะหูชั้นในทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมความตื่นตัวสำหรับการเคลื่อนไหว ถ้าหูชั้นในของเด็กไม่สามารถตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวได้ดี ก็ไม่สามารถบอกให้ร่างกายนั่งและจดจ่อได้ และเด็กก็จะต้องการแสวงหาการเคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มระดับความตื่นตัวของตัวเอง

10.พัฒนาการระบบประสาทของเด็กช้ากว่าอายุจริง ซึ่งหมายความว่าปฏิกิริยาพื้นฐานของพัฒนาการระบบประสาทยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งกระทบต่อเด็กในการจัดการกับสิ่งรอบตัว เช่น ปฏิกิริยาการควบคุมการทรงท่า ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมการทรงตัว และการมองเห็น

11.กระบวนการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ไม่ดี เด็กอาจแพ้อาหาร มีปัญหาการนอน โรคลำไส้รั่ว (leaky gut syndrome) หรือจุกเสียดท้อง ท้องผูก หรือขาดสารอาหาร เพราะวัยเด็กต้องการโปรตีนและสารอาหารอย่างมากเพื่อใช้ในการเรียนรู้และคงสมาธิ

12.เด็กนอนไม่พอ หรือนอนหลับไม่สนิท ต้องสังเกตดูว่าเด็กมีปัญหาเวลาก่อนเข้านอนหรือไม่ หรือเด็กได้นอน 10-11 ชั่วโมงต่อคืนหรือไม่ การระบายอากาศในห้องนอนดีหรือไม่ ถ้าเด็กตื่นนอนยากหรือหงุดหงิดในตอนเช้า มีโอกาสเป็นไปได้ว่าเด็กนอนไม่พอ เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอสมองก็มีปัญหาในการเรียนรู้

13.เด็กยังอายุน้อยเกินไป หรือวุฒิภาวะยังไม่ถึงวัยเรียน โดยความคิดเห็นทางคลินิกส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่า เด็กผู้ชายอายุ 3 ขวบส่วนใหญ่ควรเริ่มไปโรงเรียนได้แล้ว ดีกว่ารออีก 1-2 ปี เพราะเด็กวัยนี้ไม่มีปัญหาอารมณ์ หรือพฤติกรรม เนื่องจากการพัฒนาของวุฒิภาวะของระบบประสาท ทำให้สามารถเข้าใจกฎเกณฑ์ และกติกาของห้องเรียนได้แล้ว  

14.ความคาดหวังของห้องเรียนที่มากเกินไป อาจทำให้เด็กรู้สึกผิดพลาด และสับสน โดยในเด็กที่อายุ 4 ขวบนั้นยังไม่ถึงวัยที่ต้องฝึกจับดินสอเขียน เนื่องจากเด็กยังไม่พร้อมทางด้านสมาธิ ช่วงความสนใจ หรือการแยกแยะทางด้านสายตา ที่จำเป็นสำหรับเรียนรู้การเขียน ควรรอให้เด็กพร้อมก่อน ขอยกตัวอย่างโรงเรียนที่ดีโรงเรียนหนึ่งใน Manhattan ที่ชื่อ Rudolph Steiner School โดยโรงเรียนนี้จะเริ่มให้เด็กเขียนเมื่ออายุ 7 ขวบ ทำให้เด็กโรงเรียนนี้ลายมือสวย และเด็กไม่ค่อยมีปัญหาการเรียน

15.เด็กอาจหิวข้าว หิวน้ำ เหนื่อย หรืออยากเข้าห้องน้ำก็จะทำให้นั่งนิ่งๆ จดจ่อไม่ได้

16.เด็กมีตารางเรียนที่เยอะมากจนเกินไป จนไม่มีเวลาเล่นส่วนตัวเพื่อเติมพลังงาน ทำให้ระบบประสาทสมองยากลำบากในการประมวลผลข้อมูล และพัฒนาวุฒิภาวะไม่ได้ เด็กที่มีตารางเรียน หรือกิจกรรม 2-3 กิจกรรมหลังเลิกเรียน และในช่วงวันหยุด นั้นพิจารณาได้ว่ามากเกินไป ควรแนะนำให้ผู้ปกครองเด็กเล็กเหล่านี้ลดตารางเรียนให้เหลือ 1-2 กิจกรรมหลังเลิกเรียน แล้วให้เด็กได้มีโอกาสเล่นแทน

17.เด็กอยู่หน้าจอนานเกินไป โดยดูได้จากเด็กจะนอนหลับไม่สนิทหลังอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้สังเกตว่าเด็กเล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรงมากเกินไปหรือไม่ แนะนำให้ผู้ปกครองจำกัดเวลาในการดูโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และส่งเสริมให้เด็กไปเล่นนอกบ้าน หรือหากิจกรรมต่างๆ เช่น งานฝีมือ การระบายสี การเขียนนิทาน เล่นเครื่องดนตรี เต้น หรืออื่นๆ เป็นต้น และให้หยุดเล่นเกมอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน หรือจะให้ดีจำกัดการดูให้เหลือ 1-2 ชั่วโมง เฉพาะในวันหยุด เพราะการอยู่หน้าจอจะทำให้เด็กขาดกิจกรรมการเคลื่อนไหว การพัฒนาความแข็งแรงของร่างกายและระบบประสาท

18.จะส่งผลต่อสมดุลต่างๆ ของเด็ก โดยเด็กจะซึมซับสิ่งเหล่านี้มากกว่าที่เรารู้ ถ้าผู้ปกครองมีความเครียด ไม่ค่อยอยู่บ้าน ทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อย ทำให้ส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กได้ 

19.ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ไม่สอนให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิเสธการอบรมสั่งสอนจากผู้อื่น

20.ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก ไม่สนใจเด็ก มัวแต่สนใจเครื่องเล่นอิเล็กโทรนิคต่างๆ เวลาอยู่กับเด็ก

21.เด็กถูกคาดหวังให้นั่งนิ่งๆ เป็นเวลานาน ซึ่งผู้เขียนมักสังเกตเห็นในหลายห้องเรียนเด็กเล็ก ที่ให้เด็กนั่งเป็นระยะเวลานาน โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงท่าทาง ไม่อนุญาตให้เด็กลุกไปดื่มน้ำ หรือไปทานอะไร

22.เด็กเกิดความเบื่อหน่าย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ดูแลไม่เข้าใจธรรมชาติของสมาธิในเด็กแต่ละช่วงวัย กิจกรรมที่ให้ทำยาก หรือง่ายจนเกินไป หรือเด็กคิดว่าทุกอย่างจะง่ายเหมือนในโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ ที่เสียงดัง มีตัวละครหลากหลาย มีภาพสีสันมากมาย หรือมีความแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา

 

เกี่ยวกับผู้เขียน: Loren Shlaes, OTR/L is a pediatric occupational therapist specializing in sensory integration and school related issues, particularly handwriting. She lives and practices in Manhattan. She blogs at http://www.pediatricOT.blogspot.com/

 

Reference : http://www.pediastaff.com/blog/twenty-reasons-why-a-child-cant-sit-still-5034

เรียบเรียงโดย Mind Brain & Body 5 มิถุนายน 2558

Photo Credit:  Rolf Sachs Design

 

Tags : สมาธิสั้น

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view