http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม957,420
เปิดเพจ1,167,485

พัฒนาการระบบประสาทของเด็กในช่วงขวบปีแรก

พัฒนาการระบบประสาทของเด็กในช่วงขวบปีแรก

Neurodevelopmental  Therapy

 (Inhibition of Primitive Reflexes)

ประสาทพัฒนาการบำบัด  (การยับยั้งปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั้งเดิม)

        พัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS: Central Nervous System) นั้นมีความซับซ้อน และมีหลายปัจจัยที่มีส่วนทำให้แต่ละคนมีความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจพัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลางนั้นเริ่มต้นจากความรู้ในเรื่องลำดับขั้นปกติของพัฒนาการ  

        ส่วนหนึ่งที่ทำให้รู้ถึงลำดับขั้นของพัฒนาการก็คือลักษณะของการเคลื่อนไหวในแต่ละระดับ ซึ่งเรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflexes) ในแต่ละลำดับของปฏิกิริยาสะท้อนกลับจะเป็นส่วนสำคัญในพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็ก ดังนั้นปฏิกิริยาสะท้อนกลับในแต่ละลำดับขึ้นจึงมีความสำคัญต่อดำรงชีวิตตั้งแต่ช่วงวัยทารกจนถึงวัยเตาะแตะ

 

ปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั้งเดิม (Primitive Reflex) คืออะไร

* ปฏิกิริยาเพื่อการเอาชีวิตรอดที่เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับขึ้นตั้งแต่ช่วงทารกหลังคลอด 

* เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ในรูปแบบการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ที่ควบคุมโดยก้านสมอง (brain stem)

* อยู่นอกเหนือการควบคุมของสมองขั้นสูง (the cortex) จะสมบูรณ์และสิ้นสุดลงในช่วงต้นของชีวิต และเปลี่ยนเป็น       ปฏิกิริยาการทรงท่า ที่ควบคุมโดยสมองขึ้นสูง

* สามารถตรวจพบได้ถ้าหากแต่ละระดับไม่ได้รับการพัฒนาจนสมบูรณ์ 

 

What are the consequences

อะไรคือผลจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

ในสภาวะปกติปฏิกิริยาสะท้อนกลับจะยุติลง และพัฒนาไปสู่การควบคุมการเคลื่อนไหวที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ (voluntary control) ที่ซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีหลายสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนา เช่น ปัจจัยด้านพันธุกรรม (genetic predisposition)หรือกรรมพันธุ์ ความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ อุบัติเหตุระหว่างคลอด หรือขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม แต่พบได้น้อย

งานวิจัยในประเทศอังกฤษ  และสวีเดน ชี้ให้เห็นว่า ถ้ายังพบปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั้งเดิม (primitive reflex) ยังหลงเหลืออยู่อาจขัดขวางการพัฒนาการควบคุมการเคลื่อนไหว (motor control) การรับความรู้สึก (sensory perception) สหสัมพันธ์ตาและมือ (eye-hand coordination) และการเรียนรู้ (cognition)

 

Signs of Neuro-Developmental Delay

สัญญาณของปัญหาประสาทพัฒนาการล่าช้า

  1. ความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ (Dyslexia / Learning  disabilities) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการอ่าน การสะกดคำ และ ความรู้ความเข้าใจ (comprehension)
  2. บกพร่องด้านการเขียน ( Written  expression )
  3. บกพร่องทักษะการเรียงลำดับ ( Sequencing  skills )
  4. บกพร่องในการเข้าใจเรื่องเวลา ( sense of time )
  5. บกพร่องด้านทักษะการมอง หรือประมวลผลข้อมูลจากการมอง ( Visual function/processing )
  6. ประมวลผลข้อมูลช้า (slow in processing information)
  7. ปัญหาสมาธิ  และช่วงความสนใจ (attention and concentration)
  8. ไม่สามารถนั่งอยู่กับที่  หรือยุกยิกไม่นิ่ง ( Fidgeting )
  9. บกพร่องทักษะการจัดการ ( Organizational  skills )
  10. หันเหความสนใจง่าย และหรือหุนหันพลันแล่น (distracted and/or impulsive)
  11. สมาธิสั้นแบบไม่อยู่นิ่ง ( Hyperactivity )
  12. ไวต่อเสียง  แสง  หรือการสัมผัสมากเกินไป (hypersensitivity)
  13. มีปัญหาการวางแผนการเคลื่อนไหว (Dyspraxia) หรือปัญหาด้านการพูด ( Speech problem )  หรือพัฒนาการทางด้านภาษาล่าช้า (language delays)
  14. ปัญหาการเคลื่อนไหว  สหสัมพันธ์  และการทรงตัว
  15. บกพร่องการทรงท่า  และหรือท่าเดินงุ่มง่าม (awkward gait)
  16. บกพร่องทักษะการเขียน ( Handwriting )
  17. บกพร่องด้านการรับรู้มิติสัมพันธ์ (Spatial  awareness)
  18. บกพร่องสหสัมพันธ์มือ  และตา
  19. บกพร่องทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก
  20. ยากลำบากในการเรียนว่ายน้ำ หรือการขับจักรยาน
  21. งุ่มงาม  หรือหกล้มง่าย
  22. คัดลอกงานช้า
  23. สับสนระหว่างซ้าย  และขวา
  24. เขียนตัวอักษร  หรือตัวเลขกลับหัวกลับหาง  และมีปัญหาข้ามแนวกลางลำตัว (midline problems)
  25. มีประวัติคลอดยาก
  26. ประวัติบาดเจ็บ  หรืออุบัติเหตุทางสมอง
  27. โกรธง่าย ขี้หงุดหงิด ความอดทนต่ำ
  28. ยังพบฉี่ใส่ที่นอนหลังอายุ  5  ขวบ
  29. เวียนศีรษะง่าย
  30. ไม่สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ยึดติด
  31. กลัวไม่ชอบไปโรงเรียน (school phobia)
  32. ขาดแรงจูงใจ  หรือขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง
  33. ซึมเศร้า  วิตกกังวล  หรือเครียด
  34. ปัญหาพฤติกรรม  ความมั่นใจในตัวเอง  และแรงจูงใจ โดยปัญหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้น              

 

The Primitive reflex: ปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั่งเดิม

1. Moro  reflex เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับขั้นแรกๆ ของรูปแบบ การตอบสนองในลักษณะสู้ หรือถอยหนี (fight or flight) ในการตอบสนองต่อความเครียด  ถูกยับยั้งในช่วง 2-4 เดือน หากยังพบหลงเหลืออยู่จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็ก เนื่องจากปฏิกิริยานี้ไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนความเครียด (adrenaline and cortisol) http://www.youtube.com/watch?v=U1gy_anS2DE

2. Palmar  reflex     เป็นปฏิกิริยาการกำของเด็กทารก (grasp  reflex) และถูกพัฒนาแทนที่ด้วยการใช้นิ้วหยิบอย่างตั้งใจ (pincer grip) เมื่อเด็กมีอายุ  36 สัปดาห์ เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับชนิดหนึ่งที่มีผลต่อการเขียน (Handwriting) การพูด การออกเสียง (articulation) ของเด็ก ปกติจะถูกยับยั้งเมื่ออายุ 2-3 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่จะขัดขวางการพัฒนาความแม่นยำในการหยิบจับ และการเคลื่อนไหวของในมือ http://www.youtube.com/watch?v=TidY4XPnFUM

3. The Plantar  reflex       มีผลต่อการทรงตัว (Balance) และการเคลื่อนไหว (Mobility) ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่จะขัดขวางการคืบ การสลับแขนและขาคลาน (cross-pattern crawling) การพัฒนาสหสัมพันธ์ตาและมือ (hand-eye coordination) และการประมวลผลข้อมูลประสาทสมดุลการทรงท่า (vestibular) ร่วมกับข้อมูลความรู้สึกด้านอื่น มีผลต่อการปรับการทรงท่า (balance) การไขว้แนวกลางลำตัว (crossing the midline) http://www.youtube.com/watch?v=mJcIUnunlNI

4. The Rooting  reflex  ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 3-4 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่อาจส่งผลต่อ การกลืน (swallowing) การรับประทานอาหาร ( feeding ) การพูด (speech) การออกเสียง (articulation) และความแม่นยำในการควบคุมมือ (Manual dexterity) ในเด็กโต

5. The Spinal gallant  ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 3-9 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่ อาจมีผลต่อการทรงท่า รูปแบบการเดิน หรือรูปแบบการเคลื่อนย้ายลำตัวอื่นๆ  กระทบต่อการพัฒนาปฏิกิริยาสะท้อนกลับ amphibian และ segmental rolling reflexes เป็นสาเหตุของพฤติกรรมกระวนกระวาย (fidgeting) ฉี่รดที่นอน (bedwetting)          มีปัญหาการจดจ่อ ปัญหาความจำระยะสั้น (short tern memory)

   6. ATNR ( Asymmetrical  tonic  neck  reflex ) เป็นปฏิกิริยาที่ฝึกการเคลื่อนไหวซีกหนึ่งของร่างกายให้เหยียดแขนและความสามารถในการมองจดจ่อได้ในระยะ 17 ซม. ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 6 เดือน ถ้ายังพบจะมีความยากลำบากในการเคลื่อนไหวข้ามแนวกลางลำตัว เคลื่อนไหวของในมือสองข้างพร้อมกันไม่ได้ มีปัญหาในการกวาดสายตาตามวัตถุ (ocular pursuit)) มีปัญหาการรับรู้ทางด้านสายตา (visual-perceptual)

 7. TLR ( The  tonic labyrinthine  sreflex )

Forward ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 4 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่ จะนำไปสู่ปัญหาการรับรู้มิติสัมพันธ์ (spatial problems) อาการเมารถเมาเรือ (motion sickness) มีปัญหาการทรงท่าและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (poor posture & muscle tone) มีปัญหาการรับรู้ทางสายตา (visual perception) มีปัญหาทักษะเรื่องลำดับ (sequencing skills) และมีปัญหาเกี่ยวกับเวลา (poor sense of time)

Back ward ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ถึง 3 ปี ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่จะทำให้มีปัญหาการทรงท่าและสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหว ทักษะการจัดการงาน (Organizational skill) และการเคลื่อนไหวขาดความราบรื่น (Stiff jerky movements)

 

The Primitive reflex
 ปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั่งเดิม

พัฒนามาจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั้งเดิม และถูกสั่งการจากสมองขั้นสูง ถ้าไม่พบปฏิกิริยาสะท้อนกลับชนิดนี้แสดงว่าระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ยังพัฒนาไม่เต็มที่

 1.The  symmetrical  tonic neck reflex :  flexion and extension (STNR) ทดสอบขณะเด็กอยู่ในท่าคลาน 4 ขา เมื่อก้มศีรษะลงทำให้แขนพับงอ และขาเหยียดตรง เมื่อเงยศีรษะขึ้นทำให้ขางอและเหยียดตรง ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 9-11 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่ส่งผลต่อการทรงท่า (posture) สหสัมพันธ์ตากับมือ (hand-eye coordination) และทักษะการว่ายน้ำ (swimming skill) เป็นเหตุให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเสียการทรงตัวเวลานั่งเก้าอี้ เดินกางขาเหมือนลิง (ape-like walk) การเคลื่อนไหวงุ่มง่าม (clumsy child) มีความยากลำบากในการใช้สองตาร่วมกัน (binocular vision) คัดลอกงานช้า เวลาทานอาหารหกเลอะเทอะ

2.Landau  reflex ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 36 เดือน จะเกิดขึ้นเมื่อปฏิกิริยาสะท้อนกลับ TLR และความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone) มีการพัฒนา ทั้งปฏิกิริยา Landau reflex และ STNR ต่างก็ไม่ใช้ปฏิกิริยาดั่งเดิมหรือปฏิกิริยาการทรงท่า เนื่องจากไม่ได้มีมาตั้งแต่กำเนิด และไม่คงอยู่ตลอดไป ซึ่งทั้งสองเป็นปฏิกิริยาตัวเชื่อม (bridge) ที่สำคัญในการยับยั้งผลของ TLR ขณะที่ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ การทรงท่าและการเคลื่อนไหวของลูกตา (vestibule-ocular motor skill) มีการพัฒนา

3.The Transformed  tonic  neck  reflex เกิดขึ้นช่วง 6-8 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต  ถ้าพบปฏิกิริยาสะท้อนกลับนี้แสดงว่าการประมวลผลร่วมกันระหว่างร่างกายสองซีก (cross lateral integration) มีการพัฒนาที่เหมาะสม  ถ้าไม่ปรากฏแสดงว่าปฏิกิริยาดั้งเดิม (primitive reflexes) บางตัวยังคงหลงเหลืออยู่ และขัดขวางการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)

4. The Amphibian   reflex  เกิดขึ้นช่วง 4-6 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต ถ้าไม่พบปฏิกิริยาสะท้อนกลับชนิดนี้แสดงว่าปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั่งเดิม (primitive reflexes) โดยเฉพาะ ATNR ยังไม่ถูกยับยั้ง  ซึ่งจะขัดขวางพัฒนาการคลาน การเดิน และการวิ่ง

 5. Segmental  rolling  reflex เกิดขึ้นช่วง 6-10 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต จำเป็นสำหรับการพัฒนาการประมวลผลร่วมกันระหว่างร่างกายสองซีกอย่างราบรื่นสัมพันธ์ (cross lateral movements) เช่น การเดือน การวิ่ง การกระโดด การกระโดดเชือก (skipping) การเดินแบบส่วนสนาม (marching) และการว่ายน้ำ 
6. Oculo - head righting  reflex (OHRR)
 เกิดขึ้นช่วง 2-3 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต มีความสำคัญสำหรับการควบคุมการทรงท่าร่วมกับการเคลื่อนไหวลูกตา ถ้าพัฒนาไม่เต็มที่จะทำให้มีปัญหาการกวาดตามอง (visual tracking) บางคนมีปัญหาเวียนศีรษะคลื่นไส้ (nausea) ปัญหาการรับรู้เวลา และสถานที่ (disorientation)

7. Labyrinthine-head righting  reflex เกิดขึ้นช่วง 2-3 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต เป็นปฏิกิริยาที่มีทำงานร่วมกับระบบการทรงตัว (vestibular motor system) ทำงานร่วมกับปฏิกิริยาสะท้อนกลับ OHRR ซึ่งจำเป็นต่อการทรงตัว เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กมีปัญหาการคัดลอกคำจากกระดาน เนื่องจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับ OHRR และ LHRR ไม่พัฒนาเต็มที่ ทำให้เด็กมีความยากลำบากในการอ่าน

 

 

 

 

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view