http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม957,526
เปิดเพจ1,167,611

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

Physician Fact Sheet Sensory Integration Disorders Signs and Symptoms.

ความผิดปกติในการบูรณาการประสาทความรู้สึก ( Sensory Integration Disorder : DSI ) ที่ควรต้องรู้

 

What are Sensory Integration Disorders?

Sensory Integration Disorder (DSI) หรือบางคนรู้จักในชื่อ Sensory Processing Disorder (SPD) ถูกให้คำจำกัดความครั้งแรกเมื่อ ปี 1960 โดย Dr. Jean Ayres ว่า เป็นความผิดปกติทางด้านพัฒนาการ ที่แสดงปัญหาในด้าน

  1. การประมวลผล และการจัดการกับข้อมูลของระบบประสาท (Processing and Organizing)
  2. การให้ความหมายเพื่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางความรู้สึก
  3. ความสามารถในการปรับตัวตอบสนองต่อสิ่งเร้า

 เด็กที่มีความผิดปกติของการประมวลผลการรับความรู้สึก อาจมีความยากลำบากในการทำกิจวัตรประจำวัน การดูแลตนเอง (Self care) หรือการเล่น (Play) และต้องใช้ความพยายามที่มากกว่าในการทำกิจกรรมเหล่านี้เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่น

 การประเมินความชุก ( Estimated Prevalence)

  • พบในเพศชาย ร้อยละ 73
  • พบในเด็กวัยเรียน ร้อยละ 5-13
  • พบในเด็กกลุ่มอาการออทิสซึม ร้อยละ 40-88

 ความผิดปกติอื่นที่เกี่ยวข้อง

DSI มักพบว่ามีความสัมพันธ์กับ

  • ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ( Learning Disabilities )
  • ความบกพร่องในการประสานสัมพันธ์ของร่างกาย (Developmental Coordination Disorder)
  • สมาธิสั้น (Attention Deficit Disorder with and without hyperactivity)
  • เด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการ และ Autism Spectrum Disorder
  • พัฒนาการทางภาษาช้า
  • ความบกพร่องในการประมวลผลด้านการได้ยิน (Auditory processing disorder)
  • เด็กกำพร้าที่อยู่ในสถานรับเลี้ยง
  • ความบกพร่องด้านการเขียนและอ่าน (Dyslexia)

 Functional Problem Associated with DSI : ผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะการทำหน้าที่พื้นฐานที่เกิดจากความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง

ปัญหาทักษะการทำหน้าที่พื้นฐานที่เกิดจากความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง

  • ปัญหาด้านอารมณ์ สมาธิ พฤติกรรม จะลดการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก
  • มีความล่าช้าของพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการควบคุมที่เกี่ยวกับการพูด
  • มีความล่าช้า หรือไม่ปกติในการพัฒนาทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • มีความบกพร่องของการนอน หรือ การรับประทานอาหาร หรือ ระบบการขับถ่าย

 Features of Sensory Integration Disorders : ลักษณะความผิดปกติของการบูรณาการประสาทรับความรู้สึกสมอง

Major subtypes: DSI มีรูปแบบการแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มย่อย แต่ก็อาจพบพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว หรือหลายอย่างร่วมกัน

  1. ความผิดปกติของการปรับระดับข้อมูลความรู้สึก ( Sensory modulation disorder )
  2. ความผิดปกติของการแยกแยะข้อมูลความรู้สึก ( Sensory discrimination disorder )
  3. ความผิดปกติของการควบคุมการทรงท่า และการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อตา  ( Postural-ocular disorder )
  4. ความผิดปกติด้านการวางแผนการเคลื่อนไหว (Dyspraxia)

ลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ คือ

  • มีความบกพร่องของการประมวลผลและการผสมผสานข้อมูลความรู้สึกที่ได้รับเข้ามา
  • ความบกพร่องนั้นไม่ได้มาจากปัญหาทางการแพทย์ทั่วไป
  • ความบกพร่องเป็นอุปสรรคต่อทักษะการใช้ชีวิต (Functional skills) สังคม อารมณ์ (social-emotional health) และการควบคุมพฤติกรรมตนเอง (behavioral regulation)
  • พบปัญหาได้ในเด็กวัยปฐมวัย หรือก่อนวัยรุ่น
  • มีการพัฒนาพฤติกรรมหลีกเลี่ยงชดเชย (compensatory behaviors) เพื่อปกปิดปัญหาพื้นฐาน
  • มีหลักฐานจากเครื่องมือทางสรีรวิทยาปรากฏให้เห็น  : ความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก ( Atypical sympathetic nervous system activity  ) โดยมีความผิดปกติในการตอบสนองของ electro dermal ( EDA ) ต่อการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัส ( sensory stimulation ) ( Mclntosh, Miller, Shyu, & Hageman, 1999 )
  • มีการแสดงของกลุ่มอาการด้านระบบการควบคุมการทรงตัว (vestibular) หรือสมองน้อย (cerebellar)

ลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

จากการศึกษาตัวอย่างในเด็กที่มีปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง 1,000 คน เพื่อประมาณการเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือพบปัญหาระหว่างการคลอด

  • ร้อยละ 42 มีภาวะคลอดบุตรยาก
  • ร้อยละ 32 คลอดลูกโดยใช้เครื่องมือช่วยทำคลอด
  • ร้อยละ 25 มารดาติดเชื้อ หรือเจ็บป่วยระหว่างตั้งครรภ์
  • ร้อยละ 13 คลอดก่อน 37 สัปดาห์

 ประมาณการปัญหาสุขภาพของเด็กกลุ่มนี้ก่อนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น

  • ร้อยละ 62 มีการติดเชื้อแบบเรื้อรังที่หู
  • ร้อยละ 40 เป็นโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืด
  • ร้อยละ 27 เคยได้รับการบาดเจ็บ หรือป่วยอย่างรุนแรง
  • ร้อยละ 25 เป็นโรคดีซ่านแรกคลอด
  • ร้อยละ 20 แสดงอาการร้องโคลิคช่วงทารก

 ประมาณการลักษณะพัฒนาการ

  • ร้อยละ 47 เด็กไม่เข้าสู่ช่วง Terrible two’s หรือเข้าสู่ช่วงนี้ช้า
  • ร้อยละ 37 มีรายงานจากผู้ปกครองว่าเด็กมีพัฒนาการคลาน เพียงช่วงสั้นๆ หรือไม่มีเลย
  • ร้อยละ 33 เด็กมักทำตัวแข็งเกร็งในช่วงวัยทารก
  • ร้อยละ 32 มีปัญหาการนอน
  • ร้อยละ 31 มีปัญหาการรับทานอาหาร 
  • ร้อยละ 28 มีปัญหาการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงสถานที่
  • ร้อยละ 24 มีรายงานจากผู้ปกครองว่าเด็กเดินได้ก่อนวัย

( May-Benson, Koomar, & Teasdate, 2006 )

 

ประเภทของความผิดปกติของการบูรณาการประสาทความรู้สึสมอง

Sensory Modulation Disorder : มีปัญหาในการปรับระดับข้อมูลความรู้สึก

คำจำกัดความ : ปัญหาในหารความคุมตนเอง ต่อความเข้มข้นและการตอบสนองต่อข้อมูลความรู้สึกที่รับเข้ามา

  • ลักษณะอาการของความผิดปกติ
    • ตอบสนองทางลบอย่างมากต่อการกระตุ้นการรับความรู้สึก ซึ่งเด็กทั่วไปไม่มีปัญหา
    • อาจเป็นการตอบสนองทางอารมณ์ หรือพฤติกรรม
    • อาจประกอบด้วยการตอบสนองที่มากเกินไปต่อการรับความรู้สึกทั้งหมด แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ การกระตุ้นทางระบบสัมผัสผิวกาย และการมองเห็น
    • ปัญหาอาจมากขึ้นเมื่อเกิดความเครียด  อาจแปรปรวนตามเวลา และอาจขึ้นอยู่กับสถานการณ์

 Somatosensory Processing disorder : ปัญหาในการแยกแยะข้อมูลความรู้สึก

คำจำกัดความ : คือปัญหาในการการตีความ หรือแปลผลของข้อมูลความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากบริเวณกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และเอ็นข้อต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุของความบกพร่องในการรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Poor body awareness)

  • ลักษณะอาการของความผิดปกติ
    • ความบกพร่องในการแยกแยะ (recognition) และการแปลผล (interpretation) ของการกระตุ้นระบบสัมผัส
    • ความบกพร่องในการตรวจหาความแตกต่าง หรือความคล้ายกันของข้อมูลที่กระตุ้น เช่น การออกแรงจับสิ่งของที่มากเกินไป  ทำของเล่นหักบ่อย
    • มักเกิดขึ้นร่วมกับความบกพร่องในการวางแผนการเคลื่อนไหว ( Dyspraxia ) หรือความบกพร่องของการพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Poor fine motor skill development )

 Postural-Ocular Disorder : ปัญหาในการควบคุมการทรงท่าและการควบคุมกล้ามเนื้อตา

คำจำกัดความ : ปัญหาเกี่ยวการควบคุมหรือการทรงท่าของร่างกายขณะทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวต้านแรงดึงดูดของโลก (anti-gravity activities)

  • ลักษณะอาการของความผิดปกติ
    • มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อมาก หรือน้อยเกินไป ( Hyper or hypotonic muscle tension/tone ) หรือข้อต่อขาดความมั่นคง ( Joint instability )
    • มีความบกพร่องในการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อ ( Poor muscle co-contraction ) ต่อการเคลื่อนไหวต้านแรงโน้มถ่วงของโลก หรือการควบคุมการทรงท่า (Postural control)
    • มีความยากลำบากในการควบคุมสั่งการกล้ามเนื้อตา ( oculo-motor control ) ที่ช่วยควบคุมการมองเห็น
    • มักเกิดขึ้นร่วมกับปัญหาของระบบการรักษาสมดุลการทรงตัว (vestibular), ระบบการได้ยิน (auditory) หรือระบบการมองเห็นและการเคลื่อนไหว (visual motor problems)

 Dyspraxia : ปัญหาในการวางแผนการเคลื่อนไหว

คำจำกัดความ : การขาดความสามารถในการวางแผน (plan) จัดลำดับ (sequence) และการตอบสนองเคลื่อนไหว (execute) ต่อกิจกรรมที่ไม่คุ้ยเคย

  • ลักษณะอาการของความผิดปกติ
    • เคลื่อนไหวเก้งก้าง ขาดสหสัมพันธ์  ซึ่งเกิดขึ้นร่วมกับความบกพร่องในการประมวลผลประสาทความรู้สึก
    • มักเกิดขึ้นร่วมกับปัญหาการับรู้มองเห็นร่วมกับการเคลื่อนไหว หรือปัญหาพัฒนาการทางด้านภาษา
    • มีปัญหาการเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวถึงแม้เป็นทักษะที่ใกล้เคียงกัน
    • มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ

 

ลักษณะพฤติกรรมและอาการอื่นๆ ทั่วไป (Common Sing and Symptoms)

Sensory Modulation Disorder

  • หลีกหนีการสัมผัสแบบแผ่วเบาและการสัมผัสที่ตนเองไม่ทันคาดคิด  เช่น  การสัมผัสเพื่อทักทาย ฉลากป้ายคอเสื้อ
  • ไม่ชอบกิจกรรมที่มีการสัมผัสที่ตนเองไม่ทันคาดคิด เช่น  การสระผม  การแปรงฟัน  การตัดผม หรือตัดเล็บ
  • สำรอกบ่อย ปฏิเสธการกินอาหารบางอย่าง  เลือกกิน
  • หลีกเลี่ยงความสกปรก หรือพื้นผิวสัมผัสบางอย่าง เช่น โลชั่น  กาว  อาหารที่มีซอส
  • ชอบใส่เสื้อผ้าคับๆ มีความพึงพอใจอย่างมากต่อบางเนื้อผ้า หรือแบบแนบเนื้อ
  • ตอบสนองต่อเสียง หรือแสงไวกว่าเด็กทั่วไป

 Somatosensory Processing Disorder

  • มีความยากลำบากในการติดกระดุม
  • มีความยากลำบากในการจัดการกับวัตถุชิ้นเล็กๆ
  • มีความยากลำบากในการแยกแยะ เสียง ภาพ พื้นผิวสัมผัส หรือการสัมผัสที่คล้ายกัน
  • มีความยากลำบากในการปรับทิศทางและการออกแรงเคลื่อนไหว เช่น จับดินสอแน่นเกินไปหรือเบาเกินไป ออกแรงมากเกินไป หรือทำกระดาษขาดเวลาลบคำผิด
  • มีความยากลำบากในการปรับสมดุลย์การทรงตัว
  • มีความยากลำบากในการปรับความเร็วในการเคลื่อนไหว

 Postural-Ocular Disorder

  • มีบกพร่องในการควบคุมการทรงท่า ( Poor postural control ) เช่น นั่งตัวตรงทำกิจกรรมได้ไม่นาน
  • บกพร่องในการควบคุมและปรับการทรงท่าขณะเคลื่อนไหว ( Poor dynamic body righting or equilibrium )
  • เลี่ยงการลงน้ำหนักที่รยางค์ส่วนบนของร่างกาย เช่น ฝ่ามือ ข้อศอก ( Avoids weight bearing on upper extremities )
  • มีความยากลำบากในการแยกการทำงานระหว่างศรีษะและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตา หรือการกวาดสายตา หรือปรับสายตา เช่น ขณะอ่านหนังสือ หรือคัดลอกคำจากกระดาน
  • หลีกเลี่ยงการปีนป่าย  กลัวที่สูง  หรือ การเล่นอุปกรณ์แกว่งไกวในสนามเด็กเล่น
  • เหนื่อยง่าย
  • ไม่แสดงความเด่นของมือข้างที่ถนัด

Dyspraxia

  • ขาดทักษะในการดูแลสุขอนามัยร่างกายาของตนเอง
  • ขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ดินสอ กรรไกร หรือเครื่องใช้ต่างๆ
  • ขาดทักษะในการเล่นกีฬา
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมใหม่ๆ
  • มีความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลงกิจกรรม
  • ต่อต้านสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากกิจวัตรประจำวัน
  • ขาดทักษะในการเล่น มักชอบเล่นกับเด็กที่อายุน้อยกว่า
  • บกพร่องในการพูด ( Poor articulation )
  • บกพร่องในการรับรู้ร่างกายของตนเอง ( Poor awareness of body in space )
  • ยากลำบากในการเล่นบอล

 

ผลกระทบของปัญหาการบูรณาประสาทความรู้สึกของเด็กแต่ละกลุ่มที่โรงเรียน และบ้าน

ผลกระทบที่โรงเรียน

Sensory Modulation Disorder

  • ปรับตัวในการทำกิจวัตรประจำวันที่โรงเรียนได้ยาก (ครูมักเรียกว่าเป็นเด็ก “specials”,etc.)
  • ขาดทักษะการจัดการ ( Organizational ) ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานสำเร็จด้วยตัวเอง
  • ขาดทักษะการจัดการตนเอง ( self-management ) ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัว ( การทานอาหาร ช่วงหยุดพักผ่อน เป็นต้น )
  • ขาดทักษะทางสังคม ไม่มีเพื่อนสนิท
  • ระดับความตื่นตัวไม่คงที่  เข้ากับเพื่อนไม่ได้

 Somatosensory Processing Disorder

  • ต้องการความช่วยเหลืออย่างมากในการแต่งตัว เมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน
  • มีปัญหาในการดูแลความสะอาด และแต่งตัวของตนเอง จนเป็นที่สังเกตของเพื่อน
  • อาจไม่ค่อยรับรู้ความสะอาดของตนเองหลังจากทานอาหาร  หรือ ขับถ่าย เป็นต้น
  • ไม่เป็นระเบียบ  เสื้อผ้าหลุดลุ่ย บกพร่องในการดูแลเครื่องแต่งกายตนเอง
  • ชนล้มบ่อย มีรอยฟกช้ำมากกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน
  • มีปัญหาในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์การเรียน เนื่องมาจากความบกพร่องของการสัมผัสเคลื่อนไหว

 Postural-Ocular Disorder

  • ยากลำบากยากลำบากในคงสายตาที่มือขณะทำกิจกรรมกล้ามเนื้อมัดเล็ก
  • ความทนทานของกล้ามเนื้อในการทรงท่าต่ำ ทำให้นั่งทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความละเอียดของมือได้ไม่ดี
  • ควบคุมกล้ามเนื้อตาได้ไม่ดี ทำให้มีความยากลำบากในการอ่านจับใจความ
  • มีปัญหาในการควบคุมจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องเรียน
  • พูดไม่ชัด และทักษะการฟังไม่ดี

 Dyspraxia

  • ขาดทักษะการรับรู้ช่องว่าง ทำให้ส่งผลต่อการสะกดคำ และการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์
  • มีปัญหาในการลำดับ (sequencing) การเคลื่อนไหวส่งผลต่อทักษะการเขียน
  • ปัญหาในการวางแผนและลำดับการเคลื่อนไหว

 

ผลกระทบที่บ้าน

Sensory Modulation Disorder

  • มีความยากลำบากในการปรับระดับความตื่นตัว และการควบคุมตนเอง ผู้ปกครองต้องคอยช่วยเป็นพิเศษ
  • การตอบสนองที่มากเกินไปของระบบการรับความรู้สึกส่งผลให้เด็กมีปัญหาการทานอาหาร หรือการใส่เสื้อผ้า
  • มีข้อจำกัดในการเล่น ทำให้สำรวจเรียนรู้สิ่งต่างได้น้อย
  • ประเด็นเรื่องความตื่นตัว ( ความตื่นตัวต่ำ หรือสูงมากเกินไป ) มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว
  • ปัญหาทางด้านอารมณ์ ส่งผลกระทบต่อสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว

  Somatosensory Processing Disorder

  • ไม่ค่อยระวังเรื่องความปลอดภัยของตนเอง  ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย  และเป็นเหตุให้ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย
  • ความบกพร่องของทักษะการเคลื่อนไหว  ส่งผลต่อการทำงานที่ต้องใช้เวลา และงานที่ต้องมีการจัดการ
  • การใส่เสื้อผ้าที่จำกัด หรือทรงผมที่จำกัด มีผลต่อภาพลักษณ์ของเด็ก
  • เมื่ออยู่ชั้นประถมศึกษา 3 จะมีประเด็นเรื่องความมั่นใจในตนเองที่ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

 Postural-Ocular Disorder

  • ขาดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ส่งผลต่อ การพัฒนาทักษะการดูแลตนเอง
  • ต้องการความช่วยเหลือในการเรียนรู้อย่างมาก ส่งผลต่อการพัฒนาวุฒิภาวะทางสังคม
  • ความทนทานของกล้ามเนื้อต่ำส่งผลต่อความพึงพอใจในการเล่น  และการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว
  • มักถูกขับออกจากทีมการเล่น หรือ กิจกรรมกลุ่ม
  • อาจมีประเด็นเรื่องน้ำหนักตัวมากเกินไป

 Dyspraxia

  • ใช้ความรู้ในเรื่องทักษะทางสังคมเพื่อกลบเกลื่อนปัญหาสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหว
  • ปัญหาการทรงตัวส่งผลต่อการเล่น ( การขี่จักรยาน  เล่นสเกต เป็นต้น )
  • ยากต่อการเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่มีลำดับขั้นตอน ( เช่น การถักเชือกรองเท้า  กระโดดเชือก  หรือเกมส์ตบมือ )
  • การขาดทักษะในการจัดการกับตนเอง ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

 

อ้างอิง : www.doverehab.com/SI_Facts_for_MD_s_1_

Ayres, A. J (2005) Sensory Integration and the Child Los Angeles: WPS

Beil, L and Peske, N (2005) Raising a Sensory Smart Child

Aquilla, P, Sutton, S, and Yack, E (2003) Building Bridges through Sensory Integration

Koomar, J, Kranowitz, C, Sklut, S (2001) Answers to Questions Teachers ask about Sensory Integration

แปลและเรียบเรียงโดย Mind Brain & Body

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view